Page 307 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 307
H14
ขั้นที่ 2.นำรายชื่อที่สุ่มได้มาจัดทำทะเบียนรายชื่อ ของกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำไปใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ลำดับความเป็นบุตร ปัจจัยนำ ประกอบด้วย
ความรู้ของนักเรียน ปัจจัยเสริม ประกอบด้วย การรับรู้ข่าวสารในการดูแลสุขภาพช่องปาก
ปัจจัยเอื้อ ประกอบด้วย อุปกรณ์ในการแปรงฟันและสถานที่ในการแปรงฟัน ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
การแปรงฟันช่วงพักกลางวันของนักเรียนโรงเรียนวัดนิยมธรรมวราราม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
โดยใช้สถิต Chi-square เพื่อหาความสัมพันธ์ในระดับ.05
ผลการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันช่วง
พักกลางวันของนักเรียนโรงเรียนวัดนิยมธรรมวราราม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ประชากรที่ศึกษา
คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลทุ่งบัว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 180 คน ผลการศึกษา พบว่า
จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 180 คน คิดเป็น ร้อยละ 58.06 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด โดยเป็นชาย ร้อยละ
106 คนคิดเป็นร้อยละ 58.9 และหญิงร้อยละ 74 คนคิดเป็นร้อยละ 41.1 จากความรู้นักเรียนเกี่ยวกับ
การแปรงฟันจำนวน 12 ข้อ นักเรียนมีความรู้ถูกต้องเกี่ยวกับข้อคำถามที่ว่า หากนักเรียนลืมนำแปรงสีฟัน
มาโรงเรียนสามารถนำแปรงของเพื่อนมาใช้ได้ , การแปรงฟันอย่างน้อย 2 นาทีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการป้องกันฟันผุ มีค่าเท่ากัน มากที่สุด ร้อยละ 93.9 รองลงมา คือ นักเรียนไม่จำเป็นต้องใช้ยาสีฟัน
หากเราแปรงฟันถูกวิธี ร้อยละ 82.2 และ การแปรงฟันที่ดีต้องแปรงฟันอย่างน้อย2ครั้ง คือเช้า-ก่อนนอน,
นักเรียนสามารถกลืนยาสีฟันได้ขณะแปรงฟัน มีค่าเท่ากัน คือ ร้อยละ 78 ตามลำดับ นักเรียนมีการรับรู้
ข่าวสารในการดูแลสุขภาพช่องปาก (ครูและโรงเรียน) อยู่ในระดับสูง ประกอบด้วย นักเรียนเคยได้รับข่าวสาร
การแปรงฟันที่ถูกวิธีจากคุณครูและโรงเรียน ,นักเรียนเคยได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากจากคุณครูและ
โรงเรียน อยู่ในระดับสูง การรับรู้ข่าวสารในการดูแลสุขภาพช่องปาก (บุคลากร) อยู่ในระดับปานกลาง ทุกข้อ
คำถาม นักเรียนมีความสม่ำเสมอในการแปรงฟันในช่วงพักกลางวัน พบว่า นักเรียนแปรงฟันหลังอาหาร
กลางวันทุกวัน มากที่สุด ร้อยละ 55 รองลงมา แปรงฟัน 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 34 และแปรงฟัน 1-2 ครั้ง/
สัปดาห์ ร้อยละ 11 ตามลำดับ นักเรียนใช้เวลาแปรงฟันในช่วงพักกลางวัน มากที่สุด คือ น้อยกว่า 1 นาที
ร้อยละ 87.7 และ 1-2 นาที ร้อยละ 13 ตามลำดับ นักเรียนมีอุปกรณ์การทำความสะอาดปาก ร้อยละ 96.7
มีสถานที่น่าใช้เพียงพอในการแปรงฟัน ร้อยละ 98.3
จากการหาความสัมพันธ์พบว่า เพศ และอายุ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการแปรงฟันหลังอาหาร
กลางวัน
สรุปผลและอภิปรายผล
จากผลการศึกษาในภาพรวมสามารถกล่าวได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการแปรงฟันช่วงพัก
กลางวัน สอดคล้องโดยภาพรวมตามโมเดล PRECEDE–PROCEED Model ของ Green & Krueter (1999)
ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายปัจจัยและการดำเนินงานเพื่อเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมใช้ปัจจัยส่วนบุคคล หรือปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม เพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สำหรับ
การศึกษานี้อภิปรายผลได้ ดังนี้
1.ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ลำดับความเป็นบุตร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 106 คน
ร้อยละ 58.9 เพศหญิง 74 คน ร้อยละ 41.1 ส่วนใหญ่เป็นอายุ 12 ปี 33 คน ร้อยละ 19 อายุ 11 ปี 26 คน