Page 303 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 303
H10
การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการฝังรากฟันเทียม โรงพยาบาลโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ทันตแพทย์หญิงธัญญาภรณ์ ใหญ่เจริญ
โรงพยาบาลโพทะเล จังหวัดพิจิตร เขตสุขภาพที่ 3
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
การผ่าตัดฝังรากฟันเทียมเป็นเทคโนโลยีที่ มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องนำเข้าวัสดุ อุปกรณ์จาก
ต่างประเทศ มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ได้พัฒนารากฟันเทียมไทยขึ้น สามารถช่วยลด งบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดบริการ รวมทั้ง
สปสช.ได้กำหนดให้การฝังรากเทียมเพื่อรองรับฟันเทียมทั้งปากเป็นสิทธิประโยชน์ใหม่
งานทันตกรรม โรงพยาบาลโพทะเล ได้จัดระบบบริการให้ผู้สูงอายุ ที่สูญเสียฟันทั้งปาก ได้รับบริการ
ใส่ฟันเทียมทั้งปากมีฟันเทียมทั้งปากที่ใช้งานเกินกว่า 5 ปี อาจมีการชำรุด แตกหัก จำเป็นต้องได้รับการใส่ฟัน
เทียมทั้งปาก หรือเกือบทั้งปากใหม่ และมีผู้สูงอายุที่สภาพสันเหงือกยุบตัวจาก ความเสื่อมของอวัยวะ ทำให้ฟัน
เทียมหลวม ไม่สามารถใช้บดเคี้ยวได้ ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ใส่ฟันเทียมทั้งปาก จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด
ฝังรากฟันเทียม เพื่อให้ฟันเทียมแบบถอดได้สามารถยึดแน่นเพียงพอที่จะบดเคี้ยวได้ ซึ่งรากฟันเทียมแต่ละ
ระบบมีรูปแบบไม่เหมือนกัน รวมทั้งผู้สูงอายุมีความกังวล ไม่เข้าใจขั้นตอนการรักษา จึงพัฒนารูปแบบการ
เข้าถึงบริการฝังรากฟันเทียมขึ้น
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนารูปแบบการการเข้าถึงบริการฝังรากฟันเทียม
2.เพื่อศึกษาผลการเข้าถึงบริการฝังรากฟันเทียม
วิธีการดำเนินการ
ใช้กิจกรรมพัฒนาแบบ PDCA ดังนี้
P = Plan - พัฒนาศักยภาพบุคลากร ทันตแพทย์เข้าประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากร
ในการจัดบริการใส่รากฟันเทียมเขตสุขภาพที่ 3 ผู้ช่วยทันตแพทย์เข้าร่วมประชุมการช่วยงานในงานทันตกรรม
รากฟันเทียม ผ่าน FB Live
- เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ โดยขอสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ผ่าตัดและเครื่อง
ฝังรากฟันเทียม จากคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล จำนวน 150,000 บาท
- การประชาสัมพันธ์ ผ่านทันตบุคลากรที่อยู่ รพสต.ผ่าน อสม. ในเวทีประชุมประจำเดือน ใน line
กลุ่มของห้องทันตกรรมสำหรับนัดผู้ป่วย /ใน FB ของโรงพยาบาล ทำแผ่นพับแจกผู้ที่สนใจและโทรติดตาม
ผู้ที่เคยใส่ฟันเทียมทั้งปากไปแล้ว
D = Do - เตรียมเอกสารเอกสารบันทึกข้อมูลประจำตัวผู้ป่วยรากฟันเทียม และคู่มือประจำตัวผู้ป่วย
- เตรียมผู้ป่วย อธิบายให้ผู้ป่วยรับทราบขั้นตอนการรักษา จากรูปภาพ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น
C = Check - เปลี่ยนการอธิบายให้ผู้ป่วยรับทราบขั้นตอนการรักษา จากรูปภาพ เป็น Model รากฟันเทียม
A = Act - เพิ่มแบบฟอร์มการติดตามการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อประสิทธิภาพของฟันเทียม