Page 302 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 302

H9


                                เปรียบเทียบผลการดำเนินงานทันตกรรมทางไกล ปีงบประมาณ 2566 -2567

                                   กิจกรรม                  ปีงบประมาณ 2566            ปีงบประมาณ 2567

                                                       จำนวน (คน)     จำนวน(ครั้ง)  จำนวน (คน)   จำนวน(ครั้ง)

                      Tele รากฟันเทียม (รวมราชทัณฑ์ปันสุข)   5             5            37           55


                      Teleconsult                            -             -            9            10

                      Tele รากฟันเทียมราชทัณฑ์               -             -            6            11


                      บริการคัดกรองรากฟันเทียมที่เรือนจำ     -             -            31           31


                         5. ลดการเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาลแม่ข่ายจาก 8 ครั้ง เหลือ 3 ครั้ง และลดค่าเดินทาง
                  (37 ราย) โดยประมาณการ 13,000 บาท / ครั้ง

                  อภิปรายผล
                         งานบริการฝังรากฟันเทียมเพื่อยึดฟันเทียมให้แน่น เป็นหัตการที่ต้องใช้เทคโนโลยีทีซับซ้อน ต้องทำ

                  โดยทันตแพทย์ที่ผ่านการอบรม มีความรู้ความชำนาญ การฝึกปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ
                  ที่เกี่ยวเนื่องในบริการรากฟันเทียมให้กับทันตแพทย์โรงพยาบาลลูกข่าย ช่วยให้ทันตแพทย์มีความมั่นใจ
                  ในการให้บริการ หากพบข้อสงสัยหรือปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ สามารถใช้การปรึกษาผ่านระบบทันตกรรม
                  ทางไกลที่ช่วยในการสื่อสารและการถ่ายทอดองค์ความรู้ ระหว่างทันตแพทย์โรงพยาบาลแม่ข่าย กับผู้เกี่ยวข้อง

                  ทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้รับบริการและผู้ให้บริการโรงพยาบาลลูกข่าย เพิ่มความสะดวกในการประเมินผู้ป่วย
                  เพื่อตรวจวินิจฉัย วางแผนการรักษา และเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมสำหรับการทำหัตถการ รากฟันเทียม ทั้งขั้นตอน
                  การปลูกรากเทียมและขั้นตอนการ เปิดเหงือกเพื่อ ใส่ส่วนต่อเพื่อยึด ฟันเทียมถอดได้ ให้สามารถใช้งานได้ดีขึ้น
                  ตลอดจนติดตามผลการทำหัตถการรากฟันเทียม ใช้ระบบทันตกรรมทางไกล และเพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรค

                  และวางแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่าง ผู้ให้บริการโรงพยาบาลลูกข่าย และโรงพยาบาลแม่ข่าย
                         กลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ต้องขัง ในโครงการราชทัณฑ์ปันสุข การใช้ทันตกรรมทางไกล ในโครงการ
                  รากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการ ลดความเสี่ยงและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

                  เช่น การหลบหนี และการก่ออาชญากรรมเพิ่มเติม ฯลฯ ระหว่างการมารับบริการที่โรงพยาบาลแม่ข่าย
                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         1. แผนพัฒนางานบูรณาการทันตกรรมทางไกลไปสู่การให้บริการ งานศัลยกรรมช่องปากและ
                  แม็กซิลโลเฟเชียล เช่น ผู้ป่วยที่มีความพิการมาแต่กำเนิด ผู้ป่วยอุบัติเหตุ ผู้ป่วยติดเชื้อ ผู้ป่วยเป็นเนื้องอก
                  ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบที่ต้องมารับการรักษาทางทันตกรรม อีกทั้งเป็นการสนองนโยบายของกระทรวง

                  สาธารณสุข เรื่องของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยทันตกรรม
                         2. โรงพยาบาลลูกข่ายที่มีความพร้อมด้านบุคลากรแต่ยังขาดเครื่องมือในกาจัดบริการ ควรได้รับ
                  การสนับสนุน เพื่อพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากร ลดการเดินทางตลอดจนการเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ
                  ของผู้รับบริการและญาติ ลดความแออัดของผู้รับบริการที่โรงพยาบาลแม่ข่าย

                         3. สร้างเครือข่ายและขยายบริการ ในโรงพยาบาลลูกข่าย และในหน่วยบริการเขตสุขภาพที่ 10 , สร้าง
                  Model Teledentistry , สร้างครู ก. และ Empowerment ในโรงพยาบาลลูกข่าย
   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307