Page 343 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 343
J1
จากหนึ่งอำเภอสู่หนึ่งเขตสุขภาพ
แพทย์หญิงเพียงใจ ลวกุล
โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ภาวะสายตาผิดปกติเป็นภาวะที่เด็กและผู้ปกครองไม่สามารถสังเกตพบได้ด้วยตัวเอง แต่เป็นสาเหตุ
ทำให้ตาบอดหากทำการรักษาช้าเกินไป นอกจากความลำบากในการค้นหาเด็กที่มีสายตาผิดปกติ ยังมีปัญหา
การตัดแว่นเนื่องจากผู้ปกครองต้องพาเด็กไปโรงพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายเลนส์สายตาที่ผิดปกติมากเกินสิทธิประโยชน์
สปสช. ทำให้การดูแลรักษาตามระบบราชการปกติประสบผลสำเร็จน้อยมาก
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อค้นหาแนวทางการคัดกรองสายตาและตัดแว่นสายตาเด็กประถมที่มุ่งเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางและ
ประสบผลสำเร็จสูงสุด
วิธีการศึกษา
1. ประชุมร่วมระหว่างผู้รับผิดชอบงานคัดกรองสายตาเด็กนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการ (ครูอนามัย
โรงเรียน) กระทรวงสาธารณสุข (สสจ. รพท. และ รพช.) กระทรวงมหาดไทย (รพ.สต.) สปสช. และภาคประชาชน
ที่สนใจการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนในพื้นที่ เพื่อวางแผนการทำงาน
2. ขั้นตอนการทำงาน
1) สสจ.จัดอบรมครูอนามัยโรงเรียนเรื่องการวัดสายตา
2) ครูวัดสายตาเด็กนักเรียน
3) รพ.สต. หรือ รพช. คัดกรองสายตานักเรียนที่ครูพบว่าผิดปกติอีกครั้ง
4) รพช. สมัครเป็นเครือข่ายวัดสายตาตัดแว่นกับ สปสช., ทำโครงการจัดซื้อจัดจ้างร้านแว่นตา,
ลงทะเบียนการคัดกรองสายตาในโปรแกรม vision 2020, ลงทะเบียนเบิกค่าแว่นตาในระบบ E-claim
5) ทีมจักษุวัดสายตาเพื่อตัดแว่น, ตรวจตากรณีพบความผิดปกติอื่นๆ, ส่งต่อเพื่อตรวจเพิ่มเติม
ใน รพ. และประเมินการใช้แว่นตาของนักเรียน
6) ภาคประชาชนสนับสนุนค่าใช้จ่ายกรณีเลนส์สายตาผิดปกติมีราคาเกินสิทธิประโยชน์ สปสช.
และสนับสนุนอาหารและน้ำให้เด็กนักเรียน
ผลการศึกษา
1. อำเภอที่ 1 รพช ทำการคัดกรองที่โรงเรียนและครูอนามัยโรงเรียนทยอยนำเด็กนักเรียนไปตัดแว่น
ที่ รพ.มหาสารคาม
2. อำเภอที่ 2 ครูอนามัยโรงเรียนคัดกรองที่โรงเรียนและนำนักเรียนไปพบทีมจักษุที่ รพช.
3. อำเภอที่ 3 ครูอนามัยโรงเรียนคัดกรองที่โรงเรียนและนำนักเรียนไปพบทีมจักษุที่โรงเรียนประจำ
อำเภอ โดยมีภาคประชาชนให้การสนับสนุนการทำงานของทีมจักษุ
4. อำเภอที่ 4 รพช.คัดกรองนักเรียนที่โรงเรียนและครูอนามัยโรงเรียนนำนักเรียนไปพบทีมจักษุ
ที่โรงเรียนประจำอำเภอ