Page 345 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 345

J3


                           การพัฒนารูปแบบการคัดกรอง 3 ต้อ (ต้อกระจก ต้อหิน และต้อเนื้อ) เชิงรุก

                                                 ในเรือนจำจังหวัดกำแพงเพชร



                                                                    แพทย์หญิงสิริภา ทิพย์รัตน์ และนางทิพา ศรีอาวุธ
                                                                                         โรงพยาบาลกำแพงเพชร
                                                                                จังหวัดกำแพงเพชร เขตสุขภาพที่ 3

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         ต้อกระจกจัดเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของโลก ที่ทำให้ผู้ป่วยจำนวน 94 ล้านคนจาก 1 ล้านล้านคน
                  เกิดการมองเห็นที่แย่ลง จนถึงภาวะตาบอด ซึ่งต้อกระจกนั้นเป็นโรคที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด
                  โดยจังหวัดกำแพงเพชรมีอัตราการผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกจำนวน 1,867 คน ในปี 2566 เป็นอันดับสองของ
                  เขตสุขภาพที่ 3 รองจากจังหวัดนครสวรรค์ แต่ความเป็นจริงนั้นยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่มีข้อจำกัดในการเดินทาง

                  ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการรักษา เช่นผู้ต้องขังในเรือนจำ ที่เวลาป่วยไข้ ไม่สบาย จำเป็นต้องมีการดำเนินการ
                  หลายขั้นตอน และติดต่อผู้คุม เพื่อนำตัวมาส่งตรวจ ตามเวลาที่ทางเรือนจำระบุ และที่ผ่านมาผู้ต้องขังได้รับ
                  การคัดกรองการมองเห็นจำนวน 238 คน หรือร้อยละ 5 ต่อปี จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลกำแพงเพชร

                  จึงได้พัฒนารูปแบบการคัดกรอง 3 ต้อ (ต้อกระจก ต้อหิน และต้อเนื้อ) เชิงรุก ในเรือนจำ เพื่อคัดกรองต้อกระจก
                  ต้อหิน และต้อเนื้อเชิงรุกในผู้ต้องขัง เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาของผู้ต้องขัง และลดขั้นตอนการส่งตัว
                  จากเรือนจำมาโรงพยาบาล และประหยัดทรัพยากรผู้คุมที่ต้องควบคุมตัวผู้ต้องขังและเวลารอการตรวจรักษา
                  ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ต้องขังได้รับการรักษาที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตามโครงการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข

                  วัตถุประสงค์

                         เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์รูปแบบการคัดกรอง 3 ต้อ (ต้อกระจก ต้อหิน และต้อเนื้อ) เชิงรุก ในเรือนจำ
                  จังหวัดกำแพงเพชร

                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษานี้โดยการประยุกต์ใช้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Collaborative Action Research) PAOR
                  แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา และวางแผนการดำเนินการ 2) พัฒนารูปแบบการดูแล

                  โดยการประชุมเพื่อตกลงรูปแบบร่วมกันระหว่างสหวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล ผู้คุม และเจ้าหน้าที่
                  ที่เกี่ยวข้อง 3) ดำเนินการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น และ 4) ประเมินผล พื้นที่ดำเนินการ ได้แก่ เรือนจำในจังหวัด
                  กำแพงเพชร ระยะเวลาการดำเนินการ ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 เครื่องมือรวบรวม
                  ข้อมูล ได้แก่ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจตา และแบบบันทึกข้อมูลต่าง ๆ การวิเคราะห์

                  ข้อมูลด้วยค่าจำนวน ร้อยละ
   340   341   342   343   344   345   346   347   348   349   350