Page 339 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 339
I 23
การพัฒนาแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่5 บริบทโรงพยาบาลชุมชนและ
เครือข่ายบริการ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี (CKD5 model)
แพทย์หญิงสุทธินี บุญมี, นายแพทย์มูฮำหมาด ละใบจิ, นายวิเชียร แก้วได้ปาน,
นางเพียงเพ็ญ โยธากุล, นายปริญญา สงอักษร, นายแพทย์อุดมเกียรติ พูลสวัสดิ์
และคณะทำงานไตเรื้อรัง
โรงพยาบาลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เขตสุขภาพที่ 12
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย มีอัตราการตายอยู่ในอันดับที่ 8 ของสาเหตุการตาย
ทั่วประเทศ อัตราตายต่อประชากรแสนคนคิดเป็น 16.49 ในปี 2563 ซึ่งคาดว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไตเรื้อรัง
ปีละประมาณ 10,000 คน โรงพยาบาลโคกโพธิ์ได้มีโครงการ KP-model เพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมและเพิ่ม
การเข้าถึงบริการของผู้ป่วยกลุ่มนี้ระหว่างดำเนินโครงการพบว่า มีผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่5จำนวนมากประมาณ
ปีละ 50 คนยังขาดการให้ความรู้ในตัวโรคและความรู้การดูแลตนเองรวมถึงการวางแผนการรักษาในระยะยาว
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการฟอกเลือด การล้างไตทางหน้าท้อง หรือการรักษาแบบประคับประคอง หากขาดการวาง
แผนการรักษาร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพ ผู้ป่วยและญาติ อาจนำมาสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันได้
เช่น unplan CPR ภาวะน้ำท่วมปอด ภาวะเลือดเป็นกรด หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติจากภาวะโปแตสเซียม
ในเลือดสูง ซึ่งส่งผลให้อัตราเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น ผู้ศึกษาซึ่งเป็นอายุรแพทย์ จึงได้ทบทวนแนวทางปฏิบัติการวาง
แผนการรักษาในระยะยาวของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 และได้พัฒนาต่อยอดแนวทางการปฏิบัติจาก
โครงการ KP-model เดิม ให้มีรายละเอียดและความครอบคลุมในส่วนผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 5 มากขึ้น และ
ปรับให้เหมาะสมบริบทของโรงพยาบาลโคกโพธิ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในแผนการรักษาที่ตรงกันของผู้ป่วย
ญาติและทีมสหวิชาชีพ ลดอัตราการเกิด unplan CPR ลดอัตราตาย ชะลอความเสื่อไต เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสถานการณ์และแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลโคกโพธิ์รูปแบบเดิม
2. เพื่อพัฒนาแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่5 โรงพยาบาลโคกโพธิ์ รูปแบบใหม่
3. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5
วิธีการศึกษา
การศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพัฒนา (Research and development) ประยุกต์ใช้แนวคิด PDCA
มี 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่5 ของโรงพยาบาลโคกโพธิ์ โดยทบทวน
เวชระเบียน ปี 2563-2564 ประชุม KM และทำ SWOT analysis
ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนด
แนวทางการรักษาร่วมกันตามบริบท ปรับปรุง CPG/standing order ให้ความรู้แก่เครือข่ายเกิดเป็นรูปแบบ
CKD5-model ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้แก่ อายุรแพทย์ 2 ท่าน แพทย์ทั่วไป 1 ท่าน พบว่า
รูปแบบดังกล่าวมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการร้อยละ 100
ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิภาพแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
1) ทีมสหวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลโคกโพธิ์ ที่ปฏิบัติงานในช่วงกรกฎาคม 2565 – มกราคม 2567