Page 344 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 344
J2
5. อำเภอที่ 5 - 6 ผู้บริหารการศึกษาสั่งการให้ครูแต่ละโรงเรียนคัดกรองและนำนักเรียนไปพบทีมจักษุ
ที่เขตการศึกษาหรือโรงเรียนประจำอำเภอ
6. อำเภอที่ 7 นายอำเภอประสานงานทุกภาคส่วนให้ รพ.สต ช่วยคัดกรองที่โรงเรียนและครูอนามัย
โรงเรียนนำนักเรียนไปพบทีมจักษุที่ รพ.สต. โดยมีภาคประชาชนและองค์การบริหารส่วนตำบลให้การสนับสนุน
การทำงานของทีมจักษุ รวมทั้งมีกองทุนอำเภอสนับสนุนค่าเลนส์ที่เกินสิทธิประโยชน์ สปสช.
อภิปรายผล
รูปแบบการทำงานในแต่ละอำเภอมีจุดเด่นและโอกาสพัฒนาแตกต่างกันเช่นการวัดค่าสายตา
ที่โรงพยาบาลจะมีความปลอดภัยสูงสุดในกรณีเกิดผลข้างเคียงจากการหยอดยาสลายการเพ่ง แต่ไม่สามารถ
ให้บริการวัดค่าสายตาในจำนวนที่มากภายในวันเดียว และโรงเรียนมีความลำบากในการนำเด็กไปโรงพยาบาล
ส่วนการวัดค่าสายตาในโรงเรียนมีข้อดีคือเด็กมีความคุ้นเคยกับสถานที่ ทำให้ตรวจได้รวดเร็วและเด็กไม่ต้องเดิน
ทางไกล แต่ทีมจักษุต้องบริหารจัดการอัตรากำลังที่มีอยู่จำกัดให้เพียงพอต่อการให้บริการทั้งเชิงรุกในโรงเรียน
และเชิงรับในโรงพยาบาล
การวัดสายตาและตัดแว่นเด็กนักเรียนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น
กระทรวงศึกษาธิการ (ครู) กระทรวงสาธารณสุข (สสจ. รพท. รพช.) กระทรวงมหาดไทย (รพ.สต.) สปสช. และ
ภาคประชาชน การประสานงานที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง (เช่น นายอำเภอ, นายก อบต., ผอ.รพ.,
ผอ.เขตการศึกษา) จะมีผลต่อความสำเร็จของการทำงาน
สรุปและข้อเสนอแนะ
หากพิจารณาวิธีการทำงานโดยมุ่งเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางและเกิดผลสำเร็จสูง รูปแบบอำเภอที่ 7
เป็นรูปแบบที่ทำให้เกิดผลสำเร็จในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นตัวเด็กนักเรียน โรงเรียน ทีมจักษุ หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง เช่น รพช. รพ.สต. อบต. และภาคประชาชน
จากผลงานการวัดสายตาตัดแว่นนักเรียน จังหวัดมหาสารคามที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในปีงบประมาณ
2565 - 2566 นำไปสู่การประชุมร่วมภายในเขตสุขภาพที่ 7 เพื่อขยายผลให้เกิดประโยชน์ต่อเยาวชนที่จะเป็น
กำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป