Page 467 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 467

M5


                         การรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระจกตา คือ การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา ซึ่งต้องอาศัยกระจกตาจากผู้บริจาค

                  ดวงตา การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา อาจแบ่งเป็นการเปลี่ยนกระจกตาเต็มชั้นความหนาทุกชั้น (Full-thickness
                  or Penetrating keratoplasty, PKP) และการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเพียงบางชั้น (Partial-thickness or

                  Lamellar keratoplasty) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาตามวัตถุประสงค์ของการผ่าตัด
                  มุ่งหวังความใสของกระจกตาที่นำมาเปลี่ยน (Optical keratoplasty) และการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเพื่อคง
                  โครงสร้างของดวงตาหรือเพื่อรักษาภาวะการอักเสบติดเชื้อของกระจกตา การผ่าตัดแบบนี้เรียกว่า การผ่าตัด

                  เปลี่ยนกระจกตาเพื่อการรักษา (Therapeutic penetrating keratoplasty, TPK) การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
                  เพื่อคงความแข็งแรงของกระจกตาหรือดวงตา (Tectonic keratoplasty) เช่น กรณีกระจกตาบางหรือทะลุ


                  ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา การรับบริจาคดวงตา โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปีงบประมาณ 2561-2567



                                          ผู้บริจาคดวงตา โรงพยาบาลพระปกเกล้า
                                          ปีงบประมาณ 2562-2567 (ไตรมาส 1)




                                                                                     163




                                                                                83
                                                                                                   65
                          10   20       3    6        3    6       10   20                    33
                            2562          2563         2564          2565          2566      2567 (ไตรมาส1)

                                                   จ านวนผู้บริจาคดวงตา (ราย)  จ านวนดวงตา (ดวง)

                         จากกราฟแสดง ผลการดำเนินงานการบริจาคดวงตา โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปีงบประมาณ
                  2561-2567 (ไตรมาส 1) ที่ผ่านมาพบว่าจำนวนผู้บริจาคดวงตา ของโรงพยาบาลพระปกเกล้า เพิ่มขึ้นเป็น
                  จำนวนมาก โดยมีการพัฒนางานการขอรับบริจาคดวงตา อย่างต่อเนื่อง ดังนี้

                      1.  สร้างทรรศนะคติที่ดีแก่บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับเกี่ยวกับการบริจาคดวงตา
                      2.  สร้างแบบประเมินการค้นหาผู้บริจาคดวงตาและผู้บริจาคอวัยวะ (One Page) สะดวกต่อการ

                  ปฏิบัติงาน ลงข้อมูลเฉพาะที่สำคัญ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกว่าไม่เพิ่มภาระงาน
                      3.  สร้างกรุ๊ป Line “Organ PPK” เป็นช่องทางในการสื่อสาร
                      4.  มีพยาบาลประสานงานศูนย์รับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ (Full time)

                      5.  พัฒนาพยาบาลประจำหอผู้ป่วยในการเจรจาขอรับบริจาคดวงตา
                      6.  เชื่อมโยงงานรับบริจาคอวัยวะและดวงตาในสาขา Palliative Care

                      7.  พัฒนาทีมพยาบาลจัดเก็บดวงตา โดยส่งพยาบาลห้องผ่าตัด เข้ารับการอบรมหลักสูตรการผ่าตัดจัดเก็บ
                      ดวงตากับศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย ระยะสั้น 1 สัปดาห์

                      8.  นำปัญหามาร่วมวางแผนพัฒนางานรับบริจาคในการประชุม TC Round ทุกสัปดาห์ (วันศุกร์ของทุก
                      สัปดาห์ เวลา 11.00 – 12.30 น.) สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับงานบริจาคดวงตา คือ การสร้างความเข้าใจ ให้ทุก
                      คนเห็นความสำคัญของการบริจาคดวงตา ส่งเสริมให้พยาบาลประจำหอผู้ป่วยสามารถเจรจาขอรับบริจาค

                      ดวงตาได้
   462   463   464   465   466   467   468   469   470   471   472