Page 464 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 464

M2


                  ให้เป็นระบบมากขึ้น ทำให้อัตราการจัดเก็บดวงตาจากผู้บริจาคเพิ่มขึ้น คือ 10, 3, 3, 10, 83 และ 33 ราย

                  ตามลำดับ (ข้อมูลของศูนย์รับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลพระปกเกล้า) ซึ่งทางโรงพยาบาล
                  พระปกเกล้า ได้ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์  เพื่อพัฒนางานการรับบริจาคดวงตา

                  ให้ได้ประสิทธิผลมากขึ้น

                  วัตถุประสงค์
                         1. เพื่อเพิ่มจำนวนของผู้บริจาคดวงตา

                         2. ลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยที่รอรับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายกระจกตา

                  วิธีการดำเนินงาน
                         1. ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในการขอรับบริจาคดวงตาผู้ป่วยวาระสุดท้าย (End of Life) ข้อมูลการบริจาค

                  ดวงตาของผู้เสียชีวิต ในโรงพยาบาลพระปกเกล้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2566
                         2. ศึกษาข้อมูลจาก ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย เมื่อปี พ.ศ. 2565 พบว่า ระยะเวลารอคอยการ
                  ปลูกถ่ายกระจกตา โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ปี และมีจำนวนยอดผู้ป่วยที่รอรับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายกระจกตา
                  เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี

                  ปัญหาจากการทำงานที่ผ่านมา

                         1. งานรับบริจาคดวงตาไม่มีแพทย์ พยาบาล รับผิดชอบโดยตรง แตกต่างจากงานสาขาอื่น ๆ ที่มีแพทย์
                  เฉพาะทาง ดังนั้น จึงมักไม่มีบุคลากรใดสนใจงานทางด้านนี้อย่างจริงจัง
                         2. งานรับบริจาคอวัยวะและดวงตาต้องอาศัยความมือจากบุคลากรหลายแผนกด้วยกันและมักเป็นงานรอง
                  ที่ต้องทำด้วยใจ หากไม่ทำก็ไม่ได้มีผลต่อผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้าย  (End of Life)

                         3. เมื่อผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต (End of Life) ไม่มีผู้เจรจาขอรับบริจาคดวงตา เนื่องจาก
                  พยาบาลขาดความมั่นใจในการเจรจากับญาติของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโศกเศร้าเสียใจ ที่กำลังจะสูญเสียบุคคล
                  อันเป็นที่รักไป
                         4. บุคลากรทางการแพทย์ ขาดความเข้าใจเรื่องการบริจาคดวงตา ไม่เห็นถึงประโยชน์ของการบริจาคดวงตา

                         5. ประชาชนทั่วไปกลัวการบริจาคอวัยวะและดวงตา เนื่องจากความเชื่อของคนไทย กลัวเกิดชาติหน้า
                  จะมีอวัยวะไม่ครบ 32 ประการ หรือบางรายญาติไม่ทราบเจตนารมณ์ของผู้ป่วย ว่าต้องการบริจาคหรือไม่
                  เนื่องจากผู้ป่วยไม่เคยพูดหรือสั่งเสียเรื่องนี้ไว้
                         จากการทบทวนบทความวิชาการของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการได้มา

                  ของดวงตาที่ได้รับบริจาคเปรียบเทียบในช่วงก่อนและหลังการใช้นโยบายเชิงรุกของศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย
                  พบว่าปัญหาการขาดแคลนดวงตาบริจาค ทำให้มีแนวคิดต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้
                         1. การให้การศึกษา การประชาสัมพันธ์ ต่อสาธารณชนและบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล

                  ผ่านสื่อมวลชน องค์การศาสนา องค์การกุศล กลุ่มวิชาชีพ แม่บ้าน ให้ทราบถึงความสำเร็จของการผ่าตัดเปลี่ยน
                  กระจกตา ภาวะขาดแคลนดวงตาบริจาค รวมทั้งผลเสียของการขาดแคลนอวัยวะ การปฏิเสธของญาติที่จะให้
                  ดวงตาของผู้เสียชีวิต จะทำให้มีผลกระทบ ดังนี้
                                1.1 ดวงตาของผู้เสียชีวิตย่อมเสื่อมสลายไปในไม่ช้ายังประโยชน์อื่นใดไม่ได้เลย ถ้านำไปปลูกถ่าย
                  ให้ผู้อื่นจะช่วยเพื่อนร่วมโลกอีกอย่างน้อย 2 คน จะมองเห็นเมื่อผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา จะได้บุญกุศลอย่างยิ่ง

                  แม้จะนำมาใช้ชาตินี้ไม่ได้ ก็คงได้รับผลบุญในชาติหน้า
                                1.2. ญาติผู้เสียชีวิตขาดโอกาสที่จะได้ร่วมทำกุศลและยินดีที่ดวงตายังคงสภาพเดิมอยู่ แม้จะ
                  อยู่กับผู้อื่น ซึ่งยังคงเป็นประโยชน์แก่สังคม ไม่เช่นนั้นผู้ป่วยที่รอรับดวงตาบริจาคเหล่านี้ก็จะอยู่อย่างทุกข์

                  ทรมานนับว่าเป็นการให้ทานรองจากปรมัตถ์ทาน
   459   460   461   462   463   464   465   466   467   468   469