Page 465 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 465
M3
2. บัตรประจำตัวผู้แสดงความจำนงบริจาคดวงตา บัตรนี้เป็นสื่อและกระจายความรู้เรื่องการบริจาค
ดวงตาจากบุคคลไปยังครอบครัว โดยเน้นให้แจ้งวัตถุประสงค์ที่จะบริจาคแก่ญาติไว้สำหรับประเทศไทย
อีกแนวทางหนึ่งที่จะให้มีผู้แสดงความจำนงบริจาคดวงตามากขึ้น คือ การบันทึกเจตนารมณ์ที่จะบริจาคดวงตา
ลงในบัตรประจำตัวประชาชน จะทำให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การบริจาคควงดาได้อย่างกว้างขวางขึ้น
ซึ่งปกติประชาชนจะพกบัตรนี้ติดตัวอยู่เสมอ
3. การออกกฎหมาย บางประทศได้ออกกฎหมายให้แพทย์หรือพยาบาลโดยเฉพาะในหอผู้ป่วยหนัก
ขอบริจาคดวงตาจากญาติของผู้เสียชีวิตเพื่อนำเอาดวงตามาใช้ปลูกถ่ายทุกครั้ง แต่การตัดสินใจบริจาคดวงตา
ก็ขึ้นกับความไว้วางใจของญาติต่อวงการแพทย์ด้วยเช่นกัน การที่แพทย์หรือพยาบาลต้องถูกบังคับให้ขอบริจาค
อวัยวะ อาจจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนดวงตาก็ได้เพราะทำไปตามหน้าที่เท่านั้น แต่ในขณะเดียวกัน
การถูกบังคับก็อาจช่วยลดความรู้สึกไม่สบายใจ ที่ต้องรบกวนญาติในสภาวะที่เศร้าโศกได้ เพราะต้องปฏิบัติตาม
กฎหมาย ออกกฎหมายให้ถือว่าทุกคนยินยอมให้ดวงตาไว้เมื่อเสียชีวิต ยกเว้นบุคคลนั้น ได้แจ้งไว้ก่อนว่า
ไม่ยินยอม เช่น เบลเยี่ยม
ศูนย์รับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลพระปกเกล้า นำแนวทางแก้ไขปัญหา มาประชุม
ร่วมกันในหน่วยงาน และปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน ได้แก่
การกำหนดโครงสร้างและทิศทางของงานรับบริจาคดวงตา ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญและต้องอาศัย
ความร่วมมือจากแพทย์ พยาบาล รวมทั้งหน่วยสนับสนุนต่าง ๆ มากมาย ดังนี้
1. ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เห็นความสำคัญแต่งตั้งรองผู้อำนวยการด้านศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง
สาขาการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อการพัฒนางานรับบริจาคอวัยวะและดวงตา
2. จัดให้มีพยาบาลผู้รับผิดชอบงานโดยตรง คือ พยาบาลประสานงานรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ
3. แพทย์ พยาบาล ทุกคนในโรงพยาบาล ให้ความร่วมมือในการช่วยค้นหาผู้ป่วยวาระสุดท้าย (End of
Life) ที่สามารถเป็นผู้บริจาคดวงตาได้
4. การสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการบริจาคดวงตาแก่บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ ทุกหอผู้ป่วยใน
โรงพยาบาล
5. แพทย์ และพยาบาลสามารถเจรจาเพื่อขอรับบริจาคดวงตากับญาติของผู้ป่วยได้
6. พยาบาลประสานงานศูนย์รับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ ทำหน้าที่ในการประสานงานกับหน่อย
งานที่เกี่ยวข้องกับงานบริจาคดวงตาทั้งใน-นอก โรงพยาบาล เช่น การประสานงานระหว่าง แพทย์ พยาบาล
เทคนิคการแพทย์ ศูนย์ดวงตาสภากาชาติไทย เหล่ากาชาดจังหวัดจันทบุรี บริษัทรถประจำทางและญาติ
ของผู้บริจาคดวงตา เป็นต้น
7. การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มศักยภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ หากบุคลากรทางการดูแลผู้ป่วย
ไม่ดี ทำให้ญาติเกิดทัศนคติในด้านลบต่อการรักษาพยาบาล อาจนำไปสู่การฟ้องร้องและไม่ยินยอมบริจาค
ดวงตา ดังนั้นจำนวนของผู้บริจาคดวงตา อาจแสดงถึงความพึงพอใจในการให้การรักษาพยาบาลที่ดี
ของโรงพยาบาล
8. งานรับบริจาคดวงตา ต้องได้รับความร่วมมือจากเทคนิคการแพทย์ ในการตรวจวิเคราะห์ผลทาง
ห้องปฏิบัติการ ซึ่งไม่สามารถกำหนดเวลาได้ว่า ญาติของผู้ป่วยจะยินยอมบริจาคดวงตาในช่วงเวลาใด
9. พยาบาลประจำหอผู้ป่วยที่มีผู้ป่วยบริจาคดวงตา ดูแลดวงตาผู้บริจาคให้อยู่ในสภาพที่ดีสามารถ
บริจาคดวงตาได้เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต การเตรียมผู้ป่วยก่อนเข้าห้องผ่าตัดเพื่อจัดเก็บดวงตา