Page 468 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 468

M6


                      9.  รวบรวมข้อมูลสถิติของงานรับบริจาคดวงตา โดยพยาบาลประสานงานศูนย์รับบริจาคและปลูกถ่าย

                      อวัยวะการพัฒนางานด้านการรับบริจาคดวงตา แสดงถึง ความร่วมมือ ร่วมใจ ของทุกหน่วยงาน
                      ในโรงพยาบาล เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินคุณภาพการพยาบาล เพราะถ้าบุคลากรทางการแพทย์ดูแล

                      ผู้ป่วยไม่ดี มีพฤติกรรมบริการที่ไม่ดี ญาติคงไม่เต็มใจ ที่จะมอบดวงตาของบุคคลอันเป็นที่รักให้กับ
                      โรงพยาบาล ถ้าการดูแลภาพลักษณ์ของผู้บริจาคหลังจัดเก็บดวงตาไม่ดี ญาติรู้สึกทุกข์ทรมานใจกับ
                      ภาพลักษณ์หลังจัดเก็บดวงตา อาจทำให้เกิดการฟ้องร้องหรือไม่พึงพอใจ ทำให้ไม่สามารถขอรับบริจาค

                      ดวงตาได้อีก ดังนั้นงานบริจาคดวงตา ไม่ใช่งานของคนใดคนหนึ่ง ทุกคนมีความสำคัญในทุกกระบวนการ
                      ของการบริจาคตั้งแต่การค้นหา การเจรจา การดูแลก่อน ระหว่าง และหลังจัดเก็บดวงตา จนกระทั่ง

                      จำหน่ายศพออกจากโรงพยาบาล ซึ่งหากขาดบุคลากรใดหน่วยงานหนึ่งไป งานรับบริจาคดวงตาไม่สามารถ
                      ทำให้เกิดความสำเร็จขึ้นได้ เปรียบเสมือน “ฟันเฟือง” เล็ก ๆ ของนาฬิกาไขลาน แต่ละชิ้นก็มีหน้าที่
                      รับผิดชอบแตกต่างกัน หากมีชิ้นใดชิ้นหนึ่งหลุดไป นาฬิกาก็ไม่สามารถเดินต่อไปได้ งานบริจาคดวงตาก็

                      เช่นกันหากไม่สามารถรวมใจบุคลากรทุกคนในโรงพยาบาลก็ไม่เกิดงานบริจาคดวงตาได้

                      นอกจากนี้ ครั้งหนึ่งเราได้พบกับผู้ป่วยชายอายุ 60 ปี ที่รอคอยการปลูกถ่ายกระจกตา มาประมาณ 5 ปี
                  ในแต่ละวันผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในความมืด ไม่เคยได้เห็นหน้าลูกหลาน มานานมากจนแทบจำหน้าไม่ได้ ช่วยเหลือ

                  ตัวเองได้น้อย เป็นภาระของคนในครอบครัว และเมื่อผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่ายกระจกตาสำเร็จ เมื่อถึงวันที่เปิด
                  แผลผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาออก คนไข้ร้องไห้และยกมือไหว้ พร้อมเอ่ยคำว่า “ขอบคุณ” น้ำตาที่ไหลออกมา

                  เป็นน้ำตาแห่งความดีใจ คำขอบคุณแพทย์และพยาบาล ที่มอบแสงสว่าง ทำให้ได้มองเห็นบุคคลที่รักอีกครั้ง
                  และจากนี้ไปผู้ป่วยจะไม่เป็นภาระของครอบครัว สิ่งสำคัญ คือ ผู้ป่วยอยากขอบคุณผู้บริจาคดวงตา ที่มอบ

                  กระจกตาดวงนี้ให้ ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้จักหรือช่วยเหลือกันมาก่อน ถือเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่มาก
                      ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จังหวัดจันทบุรี มีผู้รอคอยการรักษาด้วยการปลูกถ่ายกระจกตา จำนวน

                  14 ราย (ข้อมูลจากศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย) โรงพยาบาลพระปกเกล้า ได้ติดตามนำผู้ป่วยมารับการผ่าตัด
                  ปลูกถ่ายกระจกตาได้ทั้งหมด และสามารถผ่าตัดให้ผู้ป่วยจากจังหวัดตราด จำนวน 1 ราย และจังหวัดสระแก้ว
                  จำนวน 1 ราย เท่ากับว่า ณ ปัจจุบัน โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ไม่มีผู้ป่วยที่รอรับการรักษาด้วย

                  การปลูกถ่ายกระจกตา ผู้ที่มีปัญหาที่ต้องปลูกถ่ายกระจกตาสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคิว
                  และสามารถพัฒนาการผ่าตัดแบบแยกชั้นกระจกตาได้อีกด้วย

                      โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ยังคงไม่หยุดพัฒนางานการบริจาคดวงตาต่อไป เพื่อคุณภาพ

                  การมองเห็นที่ดีของประชาชน ในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ในปีงบประมาณ  พ.ศ. 2567
                  เราตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะมีผู้บริจาคดวงตา จำนวน 50 ราย ซึ่งจะได้ดวงตาบริจาค ทั้งสิ้น 100 ดวง ซึ่งทั้งหมดนี้

                  คือ ความร่วมมือของบุคลากรทั้งในและนอกโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มโอกาสในการมองเห็นของผู้ป่วยที่รอคอยการ
                  ปลูกถ่ายกระจกตา “ร้อยแรงร่วมใจ สู่ร้อยนัยน์ตา พาสู่ชีวิตใหม่” โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
   463   464   465   466   467   468   469   470   471   472   473