Page 475 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 475
M13
กลยุทธ์ความสำเร็จในกระบวนการบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลสุรินทร์
Successful strategies to increase organ donation at Surin Hospital
after 20-years journey
1
2
1
นพ.วรชาติ อินสุวรรโณ , พญ.ดวงรัตน์ ตันรัตนานนท์ , นพ.มีชัย แซ่ลิ้ม
3
นายวีระยุทธ กุลไพศาล , นางอริสา ใจกล้า
3
1 หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสุรินทร์
2 แผนกศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลสุรินทร์
3 หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลสุรินทร์
เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท วิชาการ
1. ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดของภาวะไตวายเรื้อรัง ตับวายเรื้อรัง หัวใจวาย
เรื้อรัง และอื่นๆ เนื่องจากทำให้อวัยวะกลับมาทำงานใกล้เคียงภาวะปกติ คุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดอัตรา
การเสียชีวิต และลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนภาครัฐและประชาชน
ปัญหาท้าทายสำคัญของการปลูกถ่ายอวัยวะในประเทศไทย คือจำนวนผู้บริจาคอวัยวะยังมีจำนวน
น้อยเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่รอรับอวัยวะ โดยข้อมูลจากสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565
มีจำนวนผู้ลงทะเบียนรออวัยวะ 6,200 คน โดยมากที่สุดเป็นผู้รอไตจำนวน 5,800 คน แต่จำนวนผู้ได้รับ
การผ่าตัดปลูกถ่ายไตอยู่ที่ประมาณ 600 - 700 รายต่อปี ทำให้มีผู้รอรับอวัยวะสะสมเพิ่มมากขึ้นทุกปี และ
มีผู้ป่วยเสียชีวิตไปในระหว่างรออวัยวะ 100 ถึง 200 รายต่อปี
โรงพยาบาลสุรินทร์ได้ดำเนินการเปิดศูนย์รับบริจาคอวัยวะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เพื่อค้นหาและดูแล
ผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย จนมียอดผู้บริจาคอวัยวะสมองตายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กระทั่งในปัจจุบันทีมผ่าตัด
สามารถผ่าตัดนำอวัยวะออกจากผู้บริจาคสมองตายได้ และกำลังพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์ผ่าตัดปลูกถ่ายไต
ในอนาคต
2. วัตถุประสงค์การศึกษา
- เพื่อเพิ่มจำนวนผู้บริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยภาวะสมองตาย
- เพื่อพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลไปสู่การผ่าตัดปลูกถ่ายไต
3. วิธีการศึกษา
ปีที่ดำเนินการ/
ลำดับที่ กิจกรรมการพัฒนา จำนวนผู้บริจาค
อวัยวะ
1 จัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลสุรินทร์ตั้งแต่ พ.ศ.2547 2547-2558
ในช่วงการดำเนินงาน 10 ปีแรก มีผู้บริจาคอวัยวะสมองตายที่ได้รับ ผู้บริจาคสมองตาย
การผ่าตัดเพียง ปีละ 1-2 ราย 1-2 ราย/ปี