Page 479 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 479
M17
คงเหลือแยกตามชนิด มีการแจ้งเตือนหากมีผลิตภัณฑ์โลหิตเหลือน้อย แสดงประวัติจำนวนผู้บริจาคย้อนหลังแต่
ละหน่วยและแสดงหน่วยรับบริจาคโลหิตในอนาคต แสดงสัดส่วนผู้บริจาคที่บริจาคโลหิตได้จริงและผู้ที่บริจาค
ไม่ได้ แจกแจงสาเหตุผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การบริจาค โดยข้อมูลของผู้บริจาคจะถูกเก็บเป็นความลับไว้ในระบบ
สารสนเทศของโรงพยาบาล การออกหน่วยจะนำคอมพิวเตอร์ออกครั้งละ 3-4 เครื่อง ร่วมกับเครื่องพิมพ์
2 เครื่อง และเครื่องกระจายสัญญาณ wifi
4. ผลการศึกษา
ระบบ Surin E-blood เริ่มใช้เดือนมิถุนายน 2566 หลังใช้พบว่าหน่วยรับบริจาคโลหิตเสร็จสิ้นเร็วขึ้น
1-1.5 ชั่วโมง ผู้บริจาคใช้เวลาในการบริจาคโลหิตเฉลี่ย 1 ชั่วโมง ลดความคับคั่งของจุดทำแบบสอบถาม
ลดอุบัติการณ์จ่ายถุงเก็บโลหิตผิดคน หลังการออกหน่วยเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ธนาคารเลือดสามารถนำข้อมูล
ผู้บริจาคจากโปรแกรมมาใช้กับระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลได้เลย โดยไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลซ้ำ ลดงาน
ซ้ำซ้อนและความผิดพลาดจากบุคคลได้ มีการประเมินโดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริจาคโลหิตที่ใช้ระบบ
Surin E-blood จำนวน 186 คน ด้านความรวดเร็วเทียบกับก่อนใช้ application พบว่าพอใจ 57% พอใจมาก
37% ด้านการใช้ QR code เพื่อทำแบบสอบถามพบว่าพอใจ 57% พอใจมาก 39% ด้านความพึงพอใจและ
ความเหมาะสมในการใช้ application พอใจ 42% พอใจมาก 54%
5. อภิปรายผล
หลังจากเริ่มใช้งานโปรแกรม Surin E-Blood พบว่าช่วยลดเวลาและเพิ่มความสะดวกในการบริจาค
โลหิตได้ โดยเฉพาะจุดทำแบบสอบถามที่ใช้เวลานาน การกระจาย QR code เป็นการประชาสัมพันธ์
หน่วยบริจาคโลหิตไปในตัว การจัดเตรียมบุคลากรและอุปกรณ์สอดคล้องกับจำนวนผู้มาบริจาคมากขึ้น
จากแนวโน้มผู้มาบริจาคครั้งก่อน ตรวจสอบสาเหตุที่ผู้บริจาคไม่สามารถบริจาคโลหิตได้เพื่อให้คำแนะนำรักษา
เช่น ให้ธาตุเหล็กรักษาผู้บริจาคที่ขาดธาตุเหล็ก เพิ่มโอกาสสำหรับการบริจาคโลหิตในอนาคต เจ้าหน้าที่และ
ผู้บริหารสามารถดูผลิตภัณฑ์โลหิตที่มีแนวโน้มจะขาดแคลน เพื่อจัดสรรความถี่การออกหน่วยรับบริจาคโลหิต
จากแบบสอบถามพบว่าผู้บริจาคให้การตอบรับการใช้โปรแกรมดี ข้อมูลของผู้บริจาคถูกเก็บอย่างปลอดภัย
ในรูปแบบดิจิตอล ข้อมูลสามารถนำมาใช้กับระบบอื่นของโรงพยาบาลได้ทำให้ลดการทำงานซ้ำซ้อนและลด
ความผิดพลาดที่เกิดจากตัวจากบุคคล
6. สรุปและข้อเสนอแนะ
โปรแกรม Surin E-Blood เป็นนวัตกรรมใหม่ที่หน่วยงานในโรงพยาบาลสุรินทร์ร่วมกันพัฒนาขึ้นมา
เพื่อโอกาสการเข้าถึง เพิ่มความสะดวก ลดระยะเวลาในการบริจาคโลหิต ลดโอกาสเกิดโลหิตขาดแคลน
เพื่อการจัดสรรโลหิตแก่ผู้ป่วยอย่างเพียงพอ อนาคตวางแผนพัฒนาระบบ Surin E-Blood กับโรงพยาบาลศูนย์
อื่นๆ โรงพยาบาลชุมชุน เพื่อการกระจายการใช้และพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่องต่อไป
หน้าต่างรายงานสถิติผู้บริจาคโลหิตในอดีต แยกตามรายอำเภอ
โปรแกรมแบบคัดกรองผู้บริจาค