Page 476 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 476
M14
ปีที่ดำเนินการ/
ลำดับที่ กิจกรรมการพัฒนา จำนวนผู้บริจาค
อวัยวะ
2 -ส่งพยาบาลที่เกี่ยวข้องอบรมหลักสูตรระยะสั้น 1-3 วัน ดูแลผู้บริจาค 2559-2562
อวัยวะสมองตาย และเจรจาขอรับบริจาคอวัยวะ ผู้บริจาคสมองตาย
-อายุรแพทย์โรคไต ดูแลผู้บริจาคอวัยวะสมองตายที่หอผู้ป่วยหนัก 8-12 ราย/ปี
เพื่อให้สัญญาณชีพคงที่
3 -ส่งพยาบาลอบรมหลักสูตรพยาบาลเฉพาะทาง 4 เดือน สาขาการ 2563
พยาบาลการบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ จัดสรรเวลาการทำงานให้เป็น ผู้บริจาคสมองตาย
ระบบ มีแนวทางการค้นหาผู้ป่วยที่เหมาะสมเป็นผู้บริจาคอวัยวะ 23 ราย/ปี
-ทีมรังสีแพทย์ช่วย Ultrasound ประเมินอวัยวะ ร่วมกับอายุรแพทย์
โรคไตดูแลผู้บริจาคสมองตายเพื่อให้อวัยวะมีคุณภาพสมบูรณ์
-ทีมผ่าตัดพัฒนาศักยภาพเพื่อทำการผ่าตัดนำอวัยวะออกจากผู้บริจาค
อวัยวะสมองตาย โดยทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับโรงพยาบาล
ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้กับทีมผ่าตัด
4 -ทีมผ่าตัดเริ่มผ่าตัดนำอวัยวะออกจากผู้บริจาคอวัยวะสมองตายได้ 2564-2565
สำเร็จ และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผู้บริจาคสมองตาย
-มียอดผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย และยอดการผ่าตัดนำอวัยวะออกจาก 27 ราย/ปี
ผู้บริจาคสมองตายมากที่สุดของประเทศไทย ผ่าตัดอวัยวะออก
-ร่วมนำเสนอผลงาน How to be the DONOR Hospital (Surin 2 ราย/2564
Hospital Model) ในงานประชุมวิชาการประจำปีสมาคมปลูกถ่าย 23 ราย/2565
อวัยวะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2564
5 ศูนย์รับบริจาคอวัยวะโรงพยาบาลสุรินทร์ ต้องการพัฒนาศักยภาพไปสู่ 2566
การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (kidney transplant center) ในปี พ.ศ.2568 ผู้บริจาคสมองตาย
โดยทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับโรงพยาบาล ศรีนครินทร์ 30 ราย/ปี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการยกระดับสู่การผ่าตัดปลูก ผ่าตัดอวัยวะออก
ถ่ายไต 25 ราย/ปี
4. ผลการศึกษา
หลังการเปิดศูนย์รับบริจาคอวัยวะในช่วง 10 ปีแรก มีจำนวนผู้บริจาคอวัยวะสมองตายเพียงปีละ
1 ถึง 2 ราย จากนั้นในปี พ.ศ 2559 เมื่อมีการพัฒนาบุคลากรพยาบาลดูแลผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย
ทำให้ยอดผู้บริจาคเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 8 ถึง 12 ราย และในปี พ.ศ. 2563 มีการเพิ่มพยาบาลประสานงานบริจาค
อวัยวะ พัฒนาระบบการค้นหาและดูแลผู้ป่วยภาวะสมองตายโดยทีมสหสาขา ทำให้ยอดผู้บริจาคเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องเป็นปีละ 20 ถึง 30 รายในปัจจุบัน และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ทีมผ่าตัดได้เริ่มการผ่าตัดนำอวัยวะ
ออกจากผู้บริจาคอวัยวะสมองตายได้เอง ดำเนินต่อเนื่องจนมียอดสะสม 50 รายในปี พ.ศ. 2566