Page 478 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 478
M16
Surin E-Blood แอพพลิเคชันเพื่อการรับบริจาคโลหิตโรงพยาบาลสุรินทร์
2
นายกฤตนันท์ ส่งเสริม , นางอำไพ หวังวก , นางพลอย บุญร่วม ,
1
2
นายเจติศักดิ์ วงศ์ชนะ , นายสุริยา เส้นทอง
3
3
1 กลุ่มงานอายุรกรรม, ธนาคารเลือดโรงพยาบาลสุรินทร์,
2
3 ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ โรงพยาบาลสุรินทร์ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
1. ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ปัจจุบันส่วนประกอบของโลหิตชนิดต่างๆ มีการใช้มากขึ้นตามจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้น ในปี พ.ศ. 2566
จังหวัดสุรินทร์มีการใช้ผลิตภัณฑ์เม็ดเลือดแดง 29,730 ยูนิต ซึ่งธนาคารเลือดไม่สามารถจัดหาโลหิตได้เพียงพอ
กับความต้องการ การพัฒนาระบบบริจาคโลหิตให้มีประสิทธิภาพ สะดวกและการวางแผนรับบริจาคโลหิตที่ดีมี
ส่วนทำให้จัดหาโลหิตเพียงพอ โดยธนาคารเลือดร่วมกับศูนย์คอมพิวเตอร์โรงพยาบาลสุรินทร์พัฒนาระบบรับ
บริจาคโลหิตหรือ Surin E-Blood ขึ้น ครอบคลุม 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ครอบคลุมตั้งแต่การคัดกรองผู้บริจาค
จนถึงการบริจาคโลหิตสิ้นสุด ส่วนที่ 2 คือ ระบบบริหารการบริจาคโลหิต เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริจาค
โลหิตและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดหาโลหิตให้ผู้ป่วย
2. วัตถุประสงค์
เพื่ออำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัยให้กับผู้บริจาค ลดระยะเวลาการบริจาคโลหิต แจกแจง
สาเหตุที่ผู้บริจาคไม่สามารถบริจาคโลหิตได้เพื่อเข้ารับการรักษา สามารถวางแผนจำนวนบุคลากร
ทางการแพทย์และอุปกรณ์ตามสถิติเดิมผู้บริจาคของหน่วยบริจาคโลหิตนั้นๆ ลดความผิดพลาดอันเกิดจาก
เจ้าหน้าที่ของการรับบริจาคโลหิตในขั้นตอนต่างๆ สามารถดูแนวโน้มการใช้โลหิตและปริมาณโลหิตคงเหลือ
เพื่อนำไปสู่ความปลอดภัยความพึงพอใจทั้งผู้บริจาคโลหิต เจ้าหน้าที่ธนาคารเลือด บุคลากรท้องถิ่นและ
การจัดสรรโลหิตแก่ผู้ป่วยอย่างเพียงพอ
3. วิธีการศึกษา
สร้างโปรแกรม Surin E-Blood ขึ้น สามารถใช้ผ่านโปรแกรมอินเตอร์เน็ตทั่วไป โปรแกรมแบ่งออกเป็น
2 ส่วนคือ
3.1 ส่วนงานรับบริจาคโลหิต แบ่งเป็น
1.1) ส่วนแบบสอบถามสำหรับผู้บริจาคโลหิต 37 ข้อของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ระบบจะสร้าง
QR code แล้วกระจายไปยังพื้นที่หน่วยบริจาคโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อเป็นไปตามมาตรฐานศูนย์บริการโลหิต
แห่งชาติ ระบบจะเปิดให้ทำแบบสอบถามในเช้าวันที่ออกหน่วย ผู้บริจาคสามารถทำแบบสอบถามมาจากที่บ้าน
หรือหน้าหน่วยรับบริจาคเลือดได้ หากผู้บริจาคไม่สามารถใช้โปรแกรมได้ จะมีเจ้าหน้าที่ช่วยทำแบบสอบถาม
โดยใช้คอมพิวเตอร์ส่วนกลาง จุดประสงค์เพื่อลดความแออัดในจุดทำแบบสอบถามที่ต้องใช้เวลานาน ระบบ
จะรายงานจำนวนผู้บริจาคเบื้องต้น ประกอบกับดูสถิติจำนวนผู้บริจาคเดิมเพื่อการจัดการทรัพยากรออกหน่วย
อย่างเหมาะสม
1.2) ส่วนระบบการรับบริจาคโลหิต ครอบคลุมตั้งแต่ตรวจสอบประวัติผู้บริจาค สัมภาษณ์เพิ่มเติม
เกี่ยวกับการทำแบบสอบถามข้างต้น หากไม่มีข้อห้ามในการบริจาคจะพิมพ์ใบนำทางให้ผู้บริจาคโลหิตไปเจาะ
ความเข้มข้นโลหิต และหมู่โลหิต จากนั้นจ่ายถุงเก็บโลหิตโดยสแกนบาร์โคดบนใบนำทางกับบาร์โคดบนถุงเก็บ
โลหิตและหลอดตรวจเลือดซึ่งต้องตรงกัน เมื่อสิ้นสุดการเจาะเก็บ ใบนำทางจะถูกสแกนเพื่อปิดระบบบริจาค
3.2 ระบบบริหารโลหิตสำหรับเจ้าหน้าที่ธนาคารเลือดและผู้บริหาร ซึ่งต้องใส่รหัสในการเข้าถึง
สามารถแสดงภาพรวมอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์โลหิตแยกตามชนิดได้ทั้งจังหวัดสุรินทร์ แสดงปริมาณโลหิต