Page 480 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 480
M18
พัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วยบริจาคอวัยวะและดวงตาด้วยระบบ Digital
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
พว.อัญชณา ญานสว่าง
ศูนย์เชี่ยวชาญด้านการับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ เขตสุขภาพที่ 3
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
1. ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นการรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ปอด ตับ ไต ล้มเหลว
ให้มีชีวิตที่ยืนยาวได้อีกครั้ง ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ และวิทยาการต่างๆ ทำให้อัตราการรอดชีวิต
หลังการปลูกถ่ายอวัยวะสูงมากขึ้น แต่ปัญหาสำคัญของการรักษาด้วยวิธีนี้ คือ การขาดแคลนอวัยวะที่จะนำไป
ปลูกถ่าย จากข้อมูลศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 พบว่ามีผู้รออวัยวะ
6,634 ราย แต่มีผู้บริจาคอวัยวะเพียง 446 ราย มีผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ 938 ราย และผู้แสดงความจำนง
127,934 ราย
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์มีแนวปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยภาวะสมองตายที่เข้าเกณฑ์การบริจาค
อวัยวะเดิม ผลการดำเนินงานช่วงปี พ.ศ. 2564 = 3 ราย, พ.ศ. 2565= 5 ราย, พ.ศ. 2566 = 7 ราย ซึ่งเป็น
การบริจาคที่น้อยมากเมื่อเทียบกับผู้รอคอยอวัยวะ เนื่องด้วยการขอรับบริจาคอวัยวะในโรงพยาบาลนั้น
พยาบาลประสานงานต้อง เดิน round ward และรอการแจ้งเคสจากหอผู้ป่วยทาง Line official ทำให้
การประเมินผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การบริจาคอวัยวะและดวงตาล่าช้า จึงจัดทำระบบการแจ้งเตือน ผู้ป่วยเสียชีวิต
ทาง Line official เพื่อช่วยในการเข้าไปประเมินผู้ป่วยเข้าเกณฑ์บริจาคดวงตาได้รวดเร็ว และการประเมิน
ผู้ป่วยภาวะสมองตายเบื้องต้นผ่านระบบ DIGITAL IPD ซึ่งโรงพยาบาลใช้อยู่เดิมและนำมาปรับใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล และสามารถเจรจาขอรับบริจาคอวัยวะและดวงตาได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น สำหรับการบริจาค
ดวงตาหลังผู้ป่วยเสียชีวิตนั้น สถิติปี พ.ศ. 2564= 2 ราย, พ.ศ. 2565= 3 ราย, พ.ศ. 2566 = 14 ราย
(ต้นปี พ.ศ. 2566 ใช้ระบบแจ้งเตือนถึงพยาบาลประสานงานเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต)
2. วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วยเข้าเกณฑ์บริจาคอวัยวะและดวงตาด้วยระบบ Digital ในโรงพยาบาล
สวรรค์ประชารักษ์ ให้สะดวก รวดเร็ว มีจำนวนการบริจาคอวัยวะและดวงตาเพิ่มขึ้น
3. วิธีการศึกษา
1.ประชุมคณะกรรมการ รายงานผลการดำเนินงาน และทบทวน วิเคราะห์ผลการดำเนินงานอย่างน้อย
3 ปีย้อนหลัง ให้ทีมทราบ
2.ทบทวนแนวปฏิบัติ เอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น standing order เพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติการคัดกรอง
ให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยผ่านทางระบบ DIGITAL IPD เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว มากยิ่งขึ้น
3.ร่วมปรึกษากับทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT เพื่อปรับปรุงระบบการแจ้งเตือนต่างๆทาง
Line official ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
4.นำแนวปฏิบัติเผยแพร่ และชี้แจงให้ทีมและผู้ปฏิบัติ TCN และTCWN ทราบ