Page 653 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 653

Q39

                                ผลการพัฒนากระบวนการประสานรายการยาโดยทีมสหวิชาชีพ

                                งานบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ


                                                                                       นางสาว ทิพย์ภา สร้อยชื่อ

                                                            โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เขตสุขภาพที่ 10
                                                                                               ประเภท วิชาการ



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         การสั่งใช้ยาและการถ่ายทอดคำสั่งเรื่องความถูกต้อง ณ ช่วงรอยต่อและการส่งต่อ เป็นการดำเนินการ
                  ด้านยาเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลยาที่ผู้ป่วยใช้ก่อนเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างสมบูรณ์และถูกต้อง

                  แล้วเปรียบเทียบรายการที่ได้กับคำสั่งใช้ยาแรกรับ ส่งต่อและจำหน่ายผู้ป่วย การที่แพทย์ไม่ทราบข้อมูลการใช้ยา
                  ของผู้ป่วยอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา การประสานรายการยาเป็นประเด็นคุณภาพ
                  การพัฒนาระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล ที่ผ่านมามีการศึกษาความคลาดเคลื่อนทางยาเมื่อมีการเปลี่ยน

                  ระดับการรักษาและผลของการประสานรายการยาไม่มากนัก ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการประสานรายการยา
                  สามารถป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาเมื่อมีการเปลี่ยนระดับการรักษาได้ และมีรายงานว่า
                  สามารถหลีกเสี่ยงเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ก่อให้เกิดอันตรายขั้นรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ ผู้วิจัยเลือกทำ
                  การวิจัยที่โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย เพราะปัจจุบันโรงพยาบาลกำลังขยายการให้บริการสุขภาพเฉพาะด้านซึ่งมี
                  ความซับซ้อนในกระบวนการรักษาและพบความเสี่ยงการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา เมื่อมีการเปลี่ยนระดับ

                  การรักษาสูงขึ้น เช่น การไม่สั่งยาเดิมในขั้นตอนแรกรับ การสั่งยาที่ไม่มีในบัญชียาโรงพยาบาล การสั่งยาซ้ำซ้อน
                  กับยาเดิมที่ผู้ป่วยใช้ประจำ เป็นต้น เมื่อทบทวนกระบวนการพบว่ามีเพียงเภสัชกรที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ
                  และประสานรายการยา นโยบายการดำเนินงานไม่ชัดเจน ไม่ได้กำหนดบทบาทผู้รับผิดชอบขั้นตอนต่าง ๆ

                  ผู้ปฏิบัติงานขาดความเข้าใจในกระบวนการทำงาน จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยมีความตั้งใจที่จะพัฒนา
                  กระบวนการประสานรายการยาโดยทีมสหวิชาชีพ ในขั้นตอนแรกรับและขั้นตอนการจำหน่ายผู้ป่วยออกจาก
                  โรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยใน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยให้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและ
                  มีความยั่งยืน เหมาะสมกับบริบทของงานบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย  โดยใช้การวิจัยเชิง

                  ปฏิบัติการ (Action research) เนื่องจากต้องใช้การมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพในกระบวนการดำเนินงานในแต่
                  ละขั้นตอน วงจรการควบคุมคุณภาพ PAOR  เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงาน

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         พัฒนาและประเมินผลการพัฒนากระบวนการประสานรายการยาในขั้นตอนแรกรับและจำหน่ายผู้ป่วย
                  โดยทีมสหวิชาชีพ

                  วิธีการศึกษา

                         เป็นการศึกษาผลการเปลี่ยนแนวทางการทำการประสานรายการยา วัดผลโดยเปรียบเทียบระหว่าง

                  กลุ่มผู้ป่วยก่อนเริ่มพัฒนากระบวนการประสานรายการยาและผู้ป่วยที่ผ่านกระบวนการประสานรายการยา
                  การพัฒนามี 3 วงรอบ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ สังเกตการณ์ และการสะท้อนผล ผู้ร่วมวิจัยมี
                  2 กลุ่ม เลือกโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลากทุกคนที่เข้าตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นผู้ป่วยก่อนพัฒนา
                  กระบวนการประสานรายการยา 100 ราย หลังพัฒนา 150 ราย ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ 1 กันยายน 2566 -

                  31 มีนาคม 2567 รวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร แบบบันทึกข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยา แบบบันทึก
   648   649   650   651   652   653   654   655   656   657   658