Page 658 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 658

Q44

                                              ประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการ

                                   คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังครบวงจรในโรงพยาบาลชุมชน



                                                                     นายซอลาฮุดดีน สีระโก, นางสาวนายีฮะห์ หะยีนุ
                                                             โรงพยาบาลเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เขตสุขภาพที่ 12

                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(Chronic obstructive pulmonary disease) เป็นโรคที่มีความสำคัญและเป็น

                  สาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 ของการเสียชีวิตของประชากรโลก ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก
                  และจากข้อมูลในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ.2543 ถึง พ.ศ.2553 พบว่าความชุกของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

                  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 2,268 ต่อ 100,000 ประชากร เป็น 7,035 ต่อ 100,000ประชากร โดยเฉพาะผู้ป่วย
                  รายใหม่ที่มีประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

                  ในโรงพยาบาลเจาะไอร้องปี พ.ศ. 2566 มีจำนวนทั้งหมด 177 คนการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

                  ในโรงพยาบาลชุมชนแบบเดิมนั้น  ผู้ป่วยจะมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกร่วมกับผู้ป่วยทั่วไป ไม่มีทีมเฉพาะ
                  ในการให้บริการ ไม่มีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยไม่ได้รับข้อมูลการออกกำลังกายฟื้นฟู

                  สมรรถภาพปอด ผู้ป่วยไม่ได้รับการประเมินวิธีการใช้ยาพ่นที่ถูกต้อง  และไม่ได้รับการประเมินติดตาม
                  สมรรถภาพปอดอย่างต่อเนื่อง  จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า การดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบ

                  ครบวงจร โดยทีมสหวิชาชีพ สามารถลดอัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ ลดอัตราการเกิดอาการ

                  หอบกำเริบได้ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบบริการคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังครบวงจรในโรงพยาบาลชุมชน
                  โดยทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลเจาะไอร้อง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการดูแลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้รับการดูแล

                  ประเมินและติดตามอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต การเสื่อมถอยของสมรรถภาพปอด และภาวะ

                  ทุพพลภาพในอนาคตได้

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1. มีอัตราผู้ป่วยเกิดอาการหอบกำเริบเฉียบพลันลดลง หลังจากจัดให้มีระบบบริการคลินิกแบบครบวงจร
                         2. มีอัตราผู้ป่วยกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำหลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ภายใน 28 วัน ลดลง

                         3. ผู้ป่วยมีค่าสมรรถภาพปอดเพิ่มขึ้น หลังจากจัดให้มีระบบบริการคลินิกแบบครบวงจร

                  วิธีการศึกษา

                         การศึกษาเชิงพรรณนาจากการสืบค้นข้อมูลเวชระเบียนย้อนหลังของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทุกราย
                  ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จากการทำ Spirometry  ที่เข้ามารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก

                  โรงพยาบาลเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ในช่วงเดือน เมษายน  ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2566  โดยเก็บข้อมูล
                  ทั่วไป  ข้อมูลแบบบันทึกติดตามอาการผู้ป่วย ข้อมูลการเกิดอาการหอบกำเริบที่ห้องฉุกเฉิน  ข้อมูลการกลับมา
                  นอนโรงพยาบาลซ้ำและค่าสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังเข้ามาใช้บริการระบบ
                  บริการคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังครบวงจรในโรงพยาบาลเจาะไอร้องในระยะเวลา 6 เดือนหลังจัดตั้งระบบ
   653   654   655   656   657   658   659   660   661   662   663