Page 654 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 654

Q40

                  การประสานรายการยา และแบบบันทึกประวัติการใช้ยาผู้ป่วยรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้
                  การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การจัดหมวดหมู่และสรุปประเด็นสำคัญ

                  ผลการศึกษา

                         การวิจัยครั้งนี้ได้แนวทางการปฏิบัติกระบวนการประสานรายการยาโดยทีมสหวิชาชีพในบริบทของ
                  โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย  และจากผลการศึกษาพบว่าขั้นตอนแรกรับและจำหน่ายมีความแตกต่างของรายการ
                  ยาเดิมที่ผู้ป่วยใช้ประจำกับคำสั่งใช้ยาของแพทย์ ทั้งที่เกิดจากความตั้งใจของแพทย์และที่เกิดจาก
                  ความคลาดเคลื่อน โดยคลาดเคลื่อนทางยาที่พบไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยเนื่องจากถูกตรวจพบก่อนจาก

                  ทีมสหวิชาชีพ ผลการศึกษาพบความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดหลังพัฒนากระบวนการประสานรายการยาลดลง
                  แต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปว่าก่อนและหลังพัฒนาความคลาดเคลื่อนทางยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
                  ทางสถิติผลการพัฒนาพบผู้ป่วยได้รับยาเดิมที่สมควรได้รับภายใน 24 ชั่วโมงเพิ่มขึ้น การปฏิบัติตาม
                  แนวทางการประสานรายการยาของบุคลากรและและความสมบูรณ์ของการบันทึกข้อมูลในแบบบันทึก

                  การประสานรายการยามีแนวโน้มสูงขึ้น สรุปได้ว่าการพัฒนากระบวนการประสานรายการยาโดยทีมสหวิชาชีพ
                  ส่งผลให้มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสำหรับผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงาน

                  อภิปรายผล
                         การดำเนินกระบวนการประสานรายการยาโดยทีมสหวิชาชีพ งานบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย
                  อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ความคลาดเคลื่อนและความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาลดลง เภสัชกร

                  สามารถค้นพบปัญหาจากการใช้ยา และร่วมแก้ไขกับแพทย์ สามารถส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความร่วมมือในการใช้ยา
                  และสามารถนำแนวทางการดำเนินกระบวนการประสานรายการนี้ไปประยุกต์ในระบบผู้ป่วยในให้ครอบคลุม
                  ทุกระดับการรักษา ได้แก่ การส่งต่อ การเปลี่ยนระดับการรักษา การย้ายหอผู้ป่วย เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         จากผลการศึกษา พบความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมาย ซึ่งอาจเกิดจาก

                  การสื่อสารระหว่างทีมสหวิชาชีพต่อการประสานรายการยายังไม่ทั่วถึง ต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุทางตรง สาเหตุ
                  ร่วม และปัจจัยเชิงระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันในเชิงระบบ และผลการศึกษานี้พบความคลาดเคลื่อนทางยา
                  ขั้นตอนการจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน สูงกว่าขั้นตอนแรกรับ เนื่องจากข้อจำกัดของระบบโรงพยาบาล ดังนั้น

                  การใช้โปรแกรมที่สามารถเปรียบเทียบรายการยา ตั้งแต่วันแรกรับที่เข้ารับการรักษา รายการยาระหว่างนอน
                  โรงพยาบาล และรายการยาวันที่ถูกจำหน่าย ให้แพทย์เข้าถึงการเปรียบเทียบได้โดยตรง จะช่วยลด
                  ความคลาดเคลื่อนจากการสั่งยาได้
   649   650   651   652   653   654   655   656   657   658   659