Page 650 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 650

Q36

                  ผลการศึกษา
                         ผู้ป่วยที่ได้รับบริการ Telepharmacy จำนวน 50 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 64 อายุเฉลี่ย

                  38.7 ปี แบ่งเป็นสิทธิ์ประกันสังคมร้อยละ 50 รองลงมาเป็นสิทธิ์ประกันสุขภาพ และสิทธิ์เบิกได้จ่ายตรงร้อยละ
                  48 และ 2 ตามลำดับ ผู้ป่วยจำนวน 6 ราย(ร้อยละ 12)พบว่ามีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย และต้องรับยามากกว่า
                  1 ชนิดคิดเป็นร้อยละ 14 มี CD4 เฉลี่ย 608.59
                         ผู้ป่วยที่ได้รับการทำ Telepharmacy ที่มี Adherence >95%  ไม่มีความสัมพันธ์กับค่า VL suppress

                  <20 copies/ml (P= 0.632; 95%CI) การรับบริการ Telehealth มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการเดินทางมารับยา
                  ที่โรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05; 95%CI) และระยะเวลาในการรับบริการที่โรงพยาบาลแบบ
                  One-stop service มากกว่าการรับบริการโดยระบบ Telehealth เป็น 40.04 และ 9.61 นาที (P <0.05; CI 95%)
                         ปัญหาจากการใช้ยาที่พบคือ Non-adherence ลืมรับประทานยาทั้งมื้อร้อยละ 6 และพบว่ามีการดื่ม

                  แอลกอฮอล์ซึ่งอาจส่งผลทางอ้อมต่อการรับประทานยาให้ตรงเวลาได้ นอกจากนี้พบการใช้สมุนไพรและอาหาร
                  เสริมในผู้ป่วย แต่ไม่พบว่าเกิดอันตรกิริยาต่อยาต้านไวรัสได้
                         ประเมินคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยในด้านการใช้งานแอพลิเคชั่น ความพึงพอใจต่อเภสัชกร
                  ในการให้คำแนะนำด้านยา และบริการจัดส่งยาถึงบ้านพบว่าพึงพอใจมาก และหากมีโอกาสจะกลับมาใช้งาน

                  ระบบ Telehealth อีกครั้งร้อยละ 100
                  อภิปรายผล
                         การให้บริการบริการทางแพทย์และบริบาลเภสัชกรรมทางไกล(Telehealth)ในผู้ป่วยเอชไอวี ช่วยเพิ่ม

                  ความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการและรับยา ถึงแม้การจัดให้บริการที่โรงพยาบาลจะเป็นแบบ One-stop
                  service แต่พบว่าระยะเวลาการให้บริการใช้เวลาเฉลี่ย 40.04 นาที เนื่องจากมีขั้นตอนการดำเนินการ
                  ตามลำดับของผู้ที่มารับบริการ ส่วนการให้บริการแบบ Telehealth พบว่าลดระยะเวลาการรับบริการของ
                  ผู้ป่วยลงเหลือ 9.61 นาที เนื่องจากมีการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นจากแบบประเมินในแอพลิเคชั่น เพื่อวาง
                  แผนการรักษาและส่งต่อล่วงหน้า มีการนัดเวลาในการทำ Telehealth กับแพทย์หรือพยาบาล และเภสัชกร

                  กำหนดเวลาชัดเจน ทำให้ลดระยะเวลาการรอคอยรับบริการได้
                         ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับยาที่โรงพยาบาลลดลง เนื่องจากการรับบริการโดยระบบ Telehealth
                  ในผู้ป่วยสิทธิ์ประกันสุขภาพไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วนสิทธิ์การรักษาอื่นๆมีเพียงค่าบริการจัดส่งยาปลายทาง

                         ในด้านการให้บริการผู้ป่วยมีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มาก เนื่องจากมีการรับบริการกับบุคลากร
                  ทางการแพทย์ครบ อาทิ แพทย์หรือพยาบาล ให้คำแนะนำด้านยาและจ่ายยาโดยเภสัชกร คล้ายกับการเดินทาง
                  มารับบริการที่โรงพยาบาล แอพลิเคชั่นใช้งาน Telehealth มีความสะดวก รวมทั้งสามารถจัดส่งยาถึงบ้านได้

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         การบริการทางแพทย์และบริบาลเภสัชกรรมทางไกล(Telehealth)ในผู้ป่วยเอชไอวีช่วยเพิ่มความสะดวก

                  รวดเร็ว ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในการเดินทางมารับยาที่โรงพยาบาลได้
   645   646   647   648   649   650   651   652   653   654   655