Page 649 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 649

Q35

                                      ผลของการบริบาลเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy)
                                          ในผู้ป่วยเอชไอวี โรงพยาบาลปากช่องนานา


                                                                                   เภสัชกรหญิงทัศน์วรรณ อิติปิโซ
                                                                          โรงพยาบาลปากช่องนานา เขตสุขภาพที่ 9
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ปัจจุบันผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยที่กำลังรับยาต้านไวรัสเอชไอวีมีประมาณ 457,133 ราย
                  ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสจำเป็นต้องรับประทานยาต่อเนื่องตลอดชีวิต ให้ความร่วมมือในการใช้ยาเพื่อ

                  ลดความรุนแรงจากการเจ็บป่วย และลดอัตราการเสียชีวิต
                         การรับการรักษาโดยการเดินทางมาโรงพยาบาลเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับยา โดยมีขั้นตอนตั้งแต่
                  การเปิดเวชระเบียนการรักษา ซักประวัติ ตรวจรักษาโดยแพทย์ และรับยาจากเภสัชกร พบว่าระยะเวลาเฉลี่ย
                  ในการรับบริการค่อนข้างมาก จึงพัฒนาการให้บริการทางแพทย์และบริบาลเภสัชกรรมทางไกล (Telehealth)

                  มีการให้คำแนะนำปรึกษาผู้ป่วยเกี่ยวกับยาโดยเภสัชกร และจัดส่งยาทางไปรษณีย์ถึงมือผู้ป่วย เพื่อเพิ่ม
                  ความสะดวก และลดความแออัดในการรับบริการ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                     1)  เพื่อศึกษาผลของการให้บริบาลเภสัชกรรมทางไกล
                     2)  ศึกษาความสัมพันธ์ในผู้ป่วยที่ได้รับการทำ Telepharmacy ที่มี Adherence >95% และการกดไวรัส

                         ให้น้อยกว่า 20 copies/ml(VL suppress <20 copies/ml)
                     3)  เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ผู้ป่วยรับบริการที่โรงพยาบาลแบบ One-stop service และ
                         ผู้ป่วยที่รับบริการแบบ Telehealth

                     4)  เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับยาที่โรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายในผู้ป่วยที่รับบริการแบบ
                         Telehealth
                     5)  ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับบริการ Telepharmacy

                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ Quasi-experimental study ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ให้บริการทาง

                  แพทย์และเภสัชกรรมทางไกล (Telehealth) ระหว่าง 1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มีนาคม 2567 (รวมระยะเวลา
                  10 เดือน) โดยคัดเลือกกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการรับบริการ Telehealth ตามเกณฑ์และความสมัครใจ จากนั้นลง
                  ลายมือชื่อในเอกสารแสดงความยินยอม(Consent form)
                         วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม STATA version 14 ใช้สถิติเชิงพรรณาแสดงการแจกแจงข้อมูลทั่วไป
                  ของผู้ป่วยเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ได้แก่ เพศ อายุ สิทธิ์การรักษา โรคร่วม จำนวนรายการยา ปัญหาจาก

                  การใช้ยา(Drug related problem;DRP) และค่า CD4  ใช้สถิติ Chi-square ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
                  Adherence และ VL suppress ในผู้ป่วยที่ได้รับการทำ Telepharmacy ใช้สถิติ Pair t-test วิเคราะห์
                  เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระยะเวลารับบริการ และค่าใช้จ่ายในการรับบริการ Telehealth
   644   645   646   647   648   649   650   651   652   653   654