Page 171 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 171
D4
เอกสารอ้างอิง
แนวทางปฏิบัติสำหรับทารกที่คัดกรองการได้ยิน OAE ไม่ผ่าน
งานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลจอมทอง
ทารกที่คัดกรองการได้ยินไม่ผ่าน จะต้องได้รับการตรวจหูด้วยแพทย์ หู คอ จมูก กรณีไม่ผ่านจำนวน 3 ครั้ง
ภายใน 3 เดือน จะดำเนินการดังนี้
1. ทารกที่คัดกรองการได้ยินไม่ผ่านจะได้รับการบันทึกขึ้นทะเบียนสำหรับเด็กที่คัดกรองไม่ผ่าน
โดยจะบันทึกข้อมูลประวัติความเสี่ยง ข้อมูลติดต่อ และโรงพยาบาลหลักตามสิทธิ
2. ทารกที่คัดกรองการได้ยินไม่ผ่านทุกรายจะได้รับคำแนะนำถึงความจำเป็น และความเสี่ยง
ที่อาจเกิดขึ้น กรณีที่คัดกรองไม่ผ่านโดยเจ้าหน้าที่
3. ทารกที่คัดกรองการได้ยินไม่ผ่านทุกรายจะได้รับการออกใบส่งตัว เพื่อทำ AABR/ diagnostic ABR
ต่อที่โรงพยาบาลศูนย์ (โรงพยาบาลนครพิงค์/ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่)
4. ทารกที่คัดกรองการได้ยินไม่ผ่านทุกรายจะได้รับการโทรติดตาม เรื่องการไปตรวจตามใบส่งตัว
ที่ระยะเวลา 1 เดือน
4.1 กรณีไปตามนัดโรงพยาบาลศูนย์ จะได้รับการติดตามผลที่ อายุ 6 เดือน - สิ้นสุดการติดตาม
4.2 กรณีปฏิเสธไม่ไปตามใบส่งตัว (หมายเหตุ - สาเหตุมักเกิดจาก ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือพาหนะ
ในการเดินทางไปตรวจตามนัด) จะทำการแยกกลุ่มเป็น high risk child (ทารกที่มีความเสี่ยงตาม JCIH),
low risk child (ทารกที่ไม่มีความเสี่ยง)
4.2.1 high risk child ลดความยุ่งยากโดยการประสานขอคิววันทำ ABR ล่วงหน้าจาก
โรงพยาบาลศูนย์ และให้โรงพยาบาลต้นสังกัดช่วยเหลือในการเดินทางไปตรวจ เพื่อลด
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางหลายครั้ง
4.2.2 low risk child ประสานโรงพยาบาลใกล้บ้าน (นักกิจกรรมบำบัด) เพื่อติดตาม
พัฒนาการอย่างใกล้ชิดและติดตามผลที่อายุ 18 เดือน กรณีมีปัญหาพูดช้าให้พิจารณาส่งกลับ
มาเพื่อประเมินการได้ยินซ้ำอีกครั้ง
หมายเหตุ ทะเบียนทารกที่คัดกรองไม่ผ่านจะได้รับการประเมินทุกสิ้นเดือน เพื่อวางแผนในการติดต่อทาง
โทรศัพท์