Page 169 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 169

D2


                                - จัดโครงการ อบรมพัฒนาบุคลากรเพิ่มศักยภาพในการตรวจการได้ยิน และการลงรายละเอียด
                         การเก็บข้อมูล
                                - สร้างกลุ่มไลน์ OAE โรงพยาบาลจอมทอง เพื่อเป็นการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน

                                - เพิ่มจุดตรวจคัดกรองการตรวจ OAE จากเดิมที่มีจุดตรวจเฉพาะแผนกผู้ป่วยนอก โสต ศอ นาสิก
                         เพิ่มอีก 4 จุด ได้แก่ แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม, ห้องคลอด (หอผู้ป่วยสูตินรีเวช), หอผู้ป่วยทารก
                         วิกฤต (NICU), หอผู้ป่วยพิเศษ 5 และหอผู้ป่วยพิเศษ VIP
                         3. จัดซื้อเครื่องมือ OAE เพิ่ม 1 เครื่อง สำหรับใช้แยกตรวจในแผนก OPD และ IPD ลดระยะเวลา
                  การรอคอยการตรวจคัดกรอง

                         4. สร้างเครื่องมือเพื่อง่ายต่อการลงข้อมูล สมาชิกสามารถลงข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายและ
                  สะดวก โดยใช้ google sheet และมีการตรวจสอบข้อมูลทุกเดือน
                         5. สร้างทีมประสานงานระหว่างโรงพยาบาลชุมชน เพื่อรับผู้ป่วย refer in และโรงพยาบาลศูนย์

                  เพื่อส่งต่อผู้ป่วยไปทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

                  ผลการศึกษา
                                                                                                     ปี2567
                                 ข้อมูล                 ปี 2563  ปี 2564  ปี 2565        ปี2566      (ข้อมูลถึง

                                                                                                    31/3/67)

                        ทารกแรกเกิดทั้งหมด, ราย          1526       1372      1270        1222         628

                  ทารกแรกเกิดที่ได้ตรวจคัดกรองการได้ยิน   33         24        137        385          628

                         ก่อนจำหน่าย, ราย (%)            (2%)      (1.7%)     (10%)      (31.5%)     (100%)

                  ทารก refer in/ refer back ที่ได้รับการ
                   ตรวจ คัดกรองการได้ยินที่โรงพยาบาล       0         0          0          0           106
                             จอมทอง, ราย

                 ทารกที่ตรวจคัดกรองการได้ยินไม่ผ่าน, ราย          ไม่มีข้อมูล              25      19 (3.02%)
                                 (%)                                                     (2.04%)

                  อภิปรายผล
                         เพื่อพัฒนาการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิด และทำให้ทารกแรกเกิดทุกรายได้รับการตรวจ

                  คัดกรองการได้ยินร้อยละ 100 ในปี 2567 ทีมจึงได้มีแผนงานและแนวทางในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้
                  จำนวนทารกแรกเกิดได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินก่อนจำหน่ายเพิ่มขึ้นในปี 2566 จากร้อยละ 10 เป็น
                  ร้อยละ 31 แต่ยังมีโอกาสการพัฒนาต่อโดยการซื้อเครื่องตรวจคัดกรองเพิ่มเป็น 2 เครื่อง และเพิ่มจุดตรวจคัดกรอง

                  การได้ยินให้สามารถตรวจในจุดที่เข้าถึงทารกแรกเกิดได้ง่าย ทั้งในแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เพิ่มศักยภาพ
                  การตรวจคัดกรองบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยการส่งเข้าอบรมการตรวจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปี 2567 สามารถตรวจ
                  คัดกรองการได้ยินทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลจอมทองก่อนจำหน่ายได้ร้อยละ 100 และสามารถตรวจผู้ป่วย
                  refer in และ refer back ได้เพิ่มขึ้น ทำให้สามารถค้นหา (screening) ความผิดปกติของการได้ยินในกลุ่มทารก
                  แรกเกิดได้เพิ่มมากขึ้น

                         ในเรื่องของการเพิ่มศักยภาพบุคลากรทางทีมได้เห็นความสำคัญและเพิ่มบุคลากรที่สามารถตรวจการได้ยิน
                  โดยใช้เครื่อง OAE จากเดิมเฉพาะพยาบาล NICU 6 คน เป็น 34 คน โดยใช้ทีมสหสาขาวิชาชีพเข้ามามีส่วนร่วม
                  ทำให้สามารถตรวจได้ทุกหอผู้ป่วย แต่จากการประเมินความถูกต้องแม่นยำ พบว่าบุคลากรใหม่ยังมีความชำนาญ
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174