Page 168 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 168

D1


                                    การพัฒนาการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิด
                                                 “ตรวจหู  ให้รู้ว่า.....หนูได้ยิน”



                                                                                         นายแพทย์ทสร รูปสว่าง
                                                                โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เขตสุขภาพที่ 1
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         อุบัติการณ์การสูญเสียการได้ยินถาวรทั้งสองข้างของทารกแรกเกิด พบได้ประมาณ 1-3 รายต่อทารกแรกเกิด
                  1,000 ราย และพบได้มากขึ้นในทารกที่มีปัจจัยเสี่ยงถึง ร้อยละ 2 - 4 และจากสถิติขององค์การอนามัยโลก

                  พบว่าร้อยละ 60 ของการสูญเสียการได้ยินเด็กต่ำกว่า 5 ปี สามารถป้องกันได้ และโดยเฉพาะการได้รับการฟื้นฟู
                  การได้ยินก่อนอายุ 6 เดือน จะทำให้พัฒนาการทางการได้ยินและภาษาใกล้เคียงกับเด็กปกติ
                         ที่ผ่านมาเด็กทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลจอมทองทั้งในเขตและนอกเขตอำเภอจอมทอง ไม่ได้รับการตรวจ

                  คัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากไม่มีเครื่องมือ และบุคลากรขาดความตระหนักถึงปัญหาของการตรวจ
                  คัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิด ต่อมาพบปัญหาในเด็กในวัยเรียนถูกส่งมาปรึกษา เรื่องพัฒนาการด้านการพูด
                  พบปัญหาเรื่องเด็กพูดช้า ซึ่งส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับปัญหาเรื่องการได้ยิน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กลุ่มงานโสต ศอ
                  นาสิก ร่วมกับกลุ่มงานกุมารเวชกรรมจัดทั้งทีมตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดโดยใช้วิธี Otoacoustic
                  Emission (OAE) แบบสหสาขาวิชาชีพ และจัดทำโครงการอบรมให้ความความรู้เรื่องการตรวจและระบบการคัดกรอง

                  การได้ยินในทารกแรกเกิดให้กับทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อทำการค้นหากลุ่มเสี่ยงเชิงรุกสำหรับทารกแรกเกิด
                  ในโรงพยาบาล กลุ่มผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชนในเครือข่าย (refer in) และผู้ป่วยนัดต่อเนื่อง
                  จากโรงพยาบาลจังหวัด (refer back) การตรวจคัดกรองที่เหมาะสมและรวดเร็ว ไปจนถึงการฟื้นฟูด้านการได้ยิน

                  และติดตามหลังได้รับการวินิจฉัย ส่งผลให้เด็กที่มีปัญหาการได้ยินได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว สามารถมีพัฒนาการ
                  ทางการพูดและภาษาได้ทัดเทียมกับเด็กปกติ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการคัดกรองการได้ยินสำหรับทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลจอมทอง
                         2. พัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรในโรงพยาบาลจอมทองให้สามารถใช้เครื่องมือตรวจคัดกรองการได้ยิน

                  ในทารกแรกเกิด (OAE) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                         3. เด็กทารกที่คัดกรองไม่ผ่านได้รับการส่งต่อและสามารถได้รับการวินิจฉัย และฟื้นฟูการได้ยินก่อนอายุ
                  6 เดือน

                  วิธีการศึกษา
                         ทีมงานได้มีการกำหนดกระบวนการ (process) แนวทางการคัดกรองการได้ยินสำหรับเด็กแรกเกิด

                  ในโรงพยาบาลจอมทอง ดังนี้
                         1. จัดประชุมเครือข่ายกับทีมสหสาขาวิชาชีพในโรงพยาบาลจอมทอง (กุมารเวช/ มารดาและทารก
                  หลังคลอด/ โสตศอนาสิก/ ทันตกรรม/ กิจกรรมบำบัด) และประสานการดูแลผู้ป่วยแบบเครือข่ายในภาพจังหวัด
                  กับโรงพยาบาลนครพิงค์ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

                         2. พัฒนาระบบตรวจคัดกรองการได้ยิน Newborn Hearing Screening ในโรงพยาบาลจอมทอง
                                - จัดทำแนวทาง และแบบบันทึกการตรวจคัดกรองการได้ยินเพื่อใช้สื่อสารระหว่างหน่วยงาน
                         ที่เกี่ยวข้อง
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173