Page 166 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 166
C41
ผลการศึกษา
เนื่องจากเหตุการณ์พลุระเบิดเป็น disaster ที่ไม่เคยได้รับการสำรวจและเป็นวันหยุดในช่วงหยุดหลายวัน
ต่อเนื่อง ทำให้การทำงานมีบุคลากรที่ไม่ใช่อัตรากำลังปกติ ผู้เสียชีวิตถูกกำหนดให้เป็นโซนดำมีศพและชิ้นส่วน
ศพจำนวนมาก ไม่การดำเนินการจัดการตามแผนเป็นลำดับสุดท้าย โดยในเหตุการณ์ พบชิ้นส่วนศพกระจาย
ทยอยมาถึง 3 วัน จากการเข้าเก็บหลังฐานในพื้นที่ของตำรวจและงานพิสูจน์หลักฐาน
กรณีศพเต็มร่างนั้น 9 ร่าง นั้น ลักษณะ คือไฟไหม้ มีการระบุตัวจากเสื้อผ้า สถานที่ที่นำศพมา บุคคล
รอบข้างจำหน่ายศพได้เร็ว นำไปประกอบพิธีทางศาสนาของแต่ละศาสนาได้ โดยญาติไม่ติดใจ
กรณีชิ้นส่วนศพ 20 ชิ้น นั้น หลังพิสูจน์ DNA แล้วแยกชิ้นส่วนศพได้ 2 ศพ และจำหน่ายศพให้กับ
ครอบครัวผู้เสียชีวิตได้ไม่มีปัญหา และนำไปทำพิธีทางศาสนาต่อไป โดยไม่มีการร้องเรียนในการดำเนินการ
ข้อมูลศพ จำนวน ร้อยละ ข้อมูลชิ้นส่วนศพ จำนวน ร้อยละ
ชาย 4 44.44 ชาย 2 100
หญิง 5 55.56 หญิง 0 0
เด็ก (0 – 14 ปี) 2 22.22 เด็ก (0 – 14 ปี) 0 0
ผู้ใหญ่ 7 77.78 ผู้ใหญ่ 2 100
อภิปรายผล
สามารถให้การระบุตัวจากการพิสูจน์อัตลักษณ์ได้รวดเร็ว การทำงานร่วมกับตำรวจพิสูจน์หลักฐาน
และปรึกษาแพทย์นิติเวชตลอดจนการใช้ข้อมูลจากแนวทางที่กำหนดในระยะต่อมาทำให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น
ภายหลัง 12 ชั่วโมง ที่เกิดเหตุ พบประเด็นในเรื่องการเผชิญหน้ากับญาติ ศพต่างศาสนา ที่ต้องใช้ Soft skill
สื่อสารและการรายงานต่อผู้บังคับบัญชา
สรุปและข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบาย หากเป็นประเด็นที่เป็นข่าวสารสังคมสนใจ วิกฤตจิตใตและมีผลต่อประชาชนในกลุ่มใหญ่
ควรมีการติดต่อให้ผู้เชี่ยวชาญที่ใกล้เคียงมาร่วมดำเนินการเร่งด่วน โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เป็นที่สนใจ
ของสื่อมวลชนที่ปรากฏเป็นภาพข่าวอย่างต่อเนื่องหลายวัน ระดับ EOC ควรมีการตั้งเป้าหมายในการดำเนินการ
เพื่อลดผลกระทบ เชิงกระบวนการการรับชิ้นส่วนและระบุชิ้นส่วนเป็นเรื่องที่สำคัญในการพิสูจน์อัตลักษณ์