Page 177 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 177

D10


                               พัฒนาคุณภาพการดูแลทารกแรกเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย
                                       ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลพัทลุง


                                   นางสาวขนิษฐา สงนุ้ย, แพทย์หญิงอรุณี ประพฤติตรง และนางสาวกาญจนาภรณ์ ช่วยนุกูล

                                                                    โรงพยาบาลพัทลุง จังหวัดพัทลุง เขตสุขภาพที่ 12
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         สถิติทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย ที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม ได้รับการรักษา
                  ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลพัทลุง 2561 - 2565 จังหวัดพัทลุง มีอัตราการเกิดทารกน้ำหนัก
                  น้อยมากเท่ากับ 6.5, 11.06, 17.76, 10.01 และ 13.03 ต่อ 1,000 ทารกเกิดมีชีพ ตามลำดับ ทุกรายเข้ารับ

                  การรักษาใน NICU และปี 2565 ทารกน้ำหนักน้อยมากมีอายุครรภ์ในช่วง 24 - 33 สัปดาห์ และมีน้ำหนัก
                  น้อยกว่า 1,000 กรัม ร้อยละ 21.21 จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าในทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มนี้เกิดภาวะ
                  แทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดระยะท้าย (Late onset sepsis: LOS) โรคจอประสาทตาผิดปกติ
                  ชนิดรุนแรง (Severe Retinopathy of Prematurity: severe ROP) ภาวะลำไส้เน่า (Necrotizing Enterocolitis: NEC)

                  และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดปัญหามากที่สุด คือ ภาวะปอดเรื้อรัง (Bronchopulmonary Dysplasia: BPD) โดย
                  ปี พ.ศ. 2559-2563 พบอัตราการเกิดภาวะปอดเรื้อรังในทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย ร้อยละ 35.71,
                  31.82, 27.45, 19.04 และ 32.5 ตามลำดับ ส่งผลให้เพิ่มจำนวนวันนอนโรงพยาบาลและมีผลกระทบต่อบิดา
                  มารดา ด้านความวิตกกังวล เศรษฐกิจครอบครัว เนื่องจากมีผลให้ค่าใช้จ่ายในครอบครัวสูงขึ้น

                         หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดจึงตระหนักถึงความสำคัญในกลุ่มโรคทารกเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัว
                  น้อยกว่า 1,500 กรัม จึงมีแนวคิดในการพัฒนาแนวทางการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยกว่า
                  1,500 กรัม ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลพัทลุง โดยใช้กระบวนการ PDCA (Plan-Do-Check-Act)

                  ของศาสตราจารยเดมมิ่ง (DEMING Cycle) เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงมีประสิทธิภาพ
                  อย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement – CI) และพัฒนาแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนเป็นวงจร (cycle) โดยมี
                  จุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพสูงสุดตั้งแต่
                  แรกรับจนจำหน่าย เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างความพึงพอใจแก่ผู้ให้และผู้รับบริการ
                  เกิดความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม ในหอผู้ป่วยหนัก
                  ทารกแรกเกิด โรงพยาบาลพัทลุง
                         2. บุคลากรพยาบาลมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยกว่า
                  1,500 กรัม ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลพัทลุง

                         3. ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิตในทารกเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยกว่า
                  1,500 กรัม

                  วิธีการศึกษา
                         1. ทบทวนแนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณี (Case management) เป็นการดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

                  มุ่งเน้นการให้บริการที่มีคุณภาพต่อเนื่องและประสิทธิภาสูงสุด โดยมี case manager เป็นผู้ประสานงานกับ
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182