Page 182 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 182
D15
การประเมินปริมาณรังสีที่ผิวทารกแรกคลอดจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกในหอผู้ป่วย
วิกฤตทารกแรกคลอด ด้วยเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ระบบดิจิทัลของโรงพยาบาลอ่างทอง
นายวีระชัย แสงสว่าง
โรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง เขตสุขภาพที่ 4
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ภาพถ่ายรังสีทรวงอกทารกมีบทบาทสำคัญในการวินิจฉัยโรค แผนการรักษา และการติดตาม
ผลการรักษาของกุมารแพทย์ ผู้ป่วยทารกแรกคลอดอาจได้รับการถ่ายภาพรังสีหลายครั้ง นำมาสู่ปริมาณรังสี
สะสมมากขึ้น ซึ่งปริมาณรังสีที่ได้รับในแต่ละครั้งควรได้รับปริมาณรังสีน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ตามหลักการของ
ALARA โดยยังคงไว้ด้วยคุณภาพของภาพถ่ายรังสี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้
จัดทำค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ พ.ศ. 2566 ไว้กำกับดูแลเรื่องความ
ปลอดภัยและเป็นเอกสารอ้างอิงในการควบคุมปริมาณรังสีให้ได้รับอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล
โรงพยาบาลอ่างทองยังไม่มีแนวทางการตั้งค่าปริมาณรังสีทรวงอกทารกแรกคลอดที่ชัดเจนและเหมาะสม ไม่ทราบ
ถึงปริมาณรังสีที่ทารกแรกคลอดได้รับ ซึ่งอาจทำให้รับรังสีสะสมมากเกินไป จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้ เพื่อ
ประเมินการใช้ปริมาณรังสีตามเกณฑ์มาตรฐาน และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดการใช้ปริมาณรังสีที่เหมาะสม
ตามหลัก Optimization
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อศึกษาปริมาณรังสีที่ผิวทารกแรกคลอดจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรก
คลอดของโรงพยาบาลอ่างทองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพ
รังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ของประเทศไทย 2566
2. เพื่อศึกษาปริมาณรังสีที่เหมาะสมจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกในหอผู้ป่วยวิกฤติทารกแรก
คลอด ของโรงพยาบาลอ่างทอง โดยนำมาใช้เป็นปริมาณรังสีอ้างอิงของกลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาล
อ่างทอง
วิธีการศึกษา
การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective Descriptive Study) กลุ่มตัวอย่าง คือ ทารกแรก
คลอดในหอผู้ป่วยทารกวิกฤตของโรงพยาบาลอ่างทอง ที่รับบริการถ่ายภาพรังสีทรวงอก ระหว่างวันที่ 1
กรกฎาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2566 จำนวนทั้งหมด 544 ราย เก็บข้อมูลน้ำหนัก ความสูง ความหนาของทรวง
อก อายุ จากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล (HIS) และการให้ปริมาณรังสีของทารกแต่ละราย จาก
ระบบจัดเก็บภาพทางการแพทย์ (PACS) นำค่าที่ได้คำนวณหาปริมาณรังสีที่ผิวทารกแรกคลอด ESAK โดยใช้สูตร
คำนวณเฉพาะของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 4 จังหวัดสระบุรี แล้วนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน
ของค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ของประเทศไทย 2566 การวิเคราะห์ข้อมูลโดย
ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลค่าน้อยสุด ค่ามากสุด ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าคลอไทล์ที่ 3 และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน งานวิจัยได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง (รหัสโครงการวิจัยเลขที่ ATGEC 59/2566)