Page 188 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 188

D21

                                   นวัตกรรม “Mini spinal board Safety Baby transfer”


                                                                                        นางศรัณย์ภัทร ศุภมาตย์

                                                                 โรงพยาบาลภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ เขตสุขภาพที่ 9
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสำคัญของปัญหา
                         งานห้องคลอด โรงพยาบาลภักดีชุมพล เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก ให้บริการผู้ป่วยเด็กแรกเกิด
                  และมารดาหลังคลอด ไม่มีสูติแพทย์และกุมารแพทย์ เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินและวิกฤติต่อทารกแรกเกิด
                  จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่ข่ายที่มีศักยภาพสูงขึ้น ซึ่งระยะทาง

                  ในการส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลชัยภูมิ เป็นระยะทาง 84 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ
                  1 ชั่วโมง อีกทั้งท่อช่วยหายใจทารกแรกเกิดเป็นท่อช่วยหายใจแบบไม่มีคัพ (Endrotracheal Tube with Uncuff)
                  ซึ่งมีโอกาสเคลื่อนหรือหลุดได้ขณะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลปลายทาง ปี พ.ศ 2563, 2564 และ พ.ศ 2565
                  พบอุบัติการณ์ใส่ท่อช่วยหายใจทารกแรกเกิดและส่งต่อ จำนวน 3, 2 และ 2 รายตามลำดับ มีจำนวน 2 ,1 และ

                  1 รายตามลำดับ ที่ท่อช่วยหายใจเคลื่อนแต่ไม่ได้หลุด งานห้องคลอดโรงพยาบาลภักดีชุมพล จึงได้พัฒนาและ
                  คิดค้นนวัตกรรม “Mini spinal board Sefty  Baby transfer ” เพื่อลดอุบัติการณ์การเคลื่อน/หลุดของท่อ
                  ช่วยหายใจในทารกแรกเกิดในขณะเคลื่อนย้ายและส่งต่อ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia)
                  ในทารกแรกเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อหาวิธีและเครื่องมือในการลดอัตราการเคลื่อนหรือหลุดของท่อช่วยหายใจในทารกแรกเกิดขณะส่งต่อ
                         2. ทีมบุคลากรมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมมากกว่าร้อยละ 80

                  วิธีการศึกษา
                         1. ประชุมทีมงานทำนวัตกรรม

                         2. ดำเนินงานจัดทำนวัตกรรม
                                2.1 จัดหาอุปกรณ์ในการผลิตนวัตกรรม ได้แก่ แผ่นไม้อัดขนาด 1 มิลลิเมตรขนาด 30 x 60
                         เซนติเมตร แผ่นโฟม ผ้า ตีนตุ๊กแก ไม้แขวนเสื้อ โฟมหุ้มท่อแอร์ และฝาเกลียวขวดพลาสติก
                                2.2 ตัดแผ่นไม้อัดขนาด 1 มิลลิเมตรขนาด 30 x 60 เซนติเมตร เพื่อใช้ทำเป็น Spinal board
                         และใช้แผ่นโฟมติดทับเพื่อกันกระแทกทั้ง 2 ด้าน จากนั้นใช้ผ้าหุ้มและเย็บตามแบบงานที่กำหนดไว้

                         และใช้ตีนตุ๊กแกเย็บติดผ้าเพื่อผูกยึดผ้ากับ Spinal board
                                2.3 ตัดแผ่นไม้อัดขนาด 6 x 12  เซนติเมตร เพื่อใช้ทำเป็น Head immobilizer และใช้
                         แผ่นโฟมติดทับเพื่อกันกระแทกทั้ง 2 ด้าน ใช้ผ้าหุ้มและเย็บ ใช้ตีนตุ๊กแกเย็บติดผ้าเพื่อยึดกับแผ่น

                         Spinal board ที่ทำไว้
                                2.4 นำขวด Alcohol Gel ที่ใช้หมดแล้ว มาตัดบริเวณคอขวดและฝาปิดขวดมาติดบริเวณ
                         Head immobilizer เพื่อใช้ยึดไม้แขวนผ้าที่ดัดตามรูปแบบที่กำหนดสำหรับใช้ประคองท่อช่วยหายใจ
                                2.5 ใช้ไม้แขวนเสื้อมาดัดเป็นลักษณะครึ่งวงกลมแล้วนำมายึดติดบริเวณข้อต่อที่ยึดติดกับ

                         Head immobilizer
                                2.6 นำโฟมหุ้มท่อแอร์มาดัดเป็นลักษณะรูปตัว U และเย็บหุ้มด้วยเศษฝ้า เพื่อประคองตัวทารก
                                2.7 นำชิ้นส่วนอุปกรณ์มาประกอบเป็นนวัตกรรม
                         3. ติดตามผลและสรุปผล
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193