Page 184 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 184

D17

                  อภิปรายผล

                         เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาครั้งนี้กับสถาบันต่าง ๆ และงานวิจัยของประเทศไทยที่มีบริบทใกล้เคียง
                  กัน พบว่าปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอก ท่า AP Supine กลุ่มงานรังสีวิทยา

                  โรงพยาบาลอ่างทอง มีค่าปริมาณรังสีที่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 อยู่ในระดับไม่เกินค่ากำหนดของ IAEA และอยู่ใน
                  ระดับเดียวกับงานวิจัยของปรีชา ฟักทอง และมีค่าปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วยต่ำกว่างานวิจัยของสุกัญญา เศรษฐ
                  มาก สุภาพร ทั้งสุข และคณะ และงานวิจัยนี้มีค่าปริมาณรังสีต่ำกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสี
                  วินิจฉัยทางการแพทย์ของประเทศไทย 2566 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.04 มิลลิเกรย์ ดังนั้นงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงการ
                  ให้ปริมาณรังสีที่เหมาะสมของนักรังสีการแพทย์ของโรงพยาบาลอ่างทอง อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ทำให้

                  ทารกแรกคลอดได้รับปริมาณรังสีที่ผิวเกินค่ามาตรฐาน และจากข้อมูลงานวิจัยสามารถนำค่าที่ได้มาปรับและ
                  กำหนด Exposure chart เพื่อตั้งค่าสำหรับการถ่ายภาพรังสีทรวงอกทารกแรกคลอดที่มีน้ำหนักอยู่ในช่วงแตกต่าง
                  กันไป เพื่อป้องกันการได้รับรังสีเกินความจำเป็น โดยปริมาณรังสีที่เหมาะสม  ผู้วิจัยแนะนำให้ใช้ mAs, kVp ดังนี้



                       น้ำหนักทารก (กิโลกรัม)                kVp                           mAs

                   น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.00                   46                          1.2-1.4
                   มากว่า 1.00 - 2.00                         46                          1.6-1.8
                   มากกว่า 2.00 - 3.00                        48                          1.6-1.8

                   มากกว่า 3.00 - 4.00                      48-50                         1.6-1.8
                   มากกว่า 4.00                               50                          1.8-2.0



                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                          ปริมาณรังสีที่ผิวทารกแรกคลอด (ESAK) ได้รับมีค่าเฉลี่ยที่ 0.03 มิลลิเกรย์ เมื่อเปรียบเทียบกับค่า

                  ปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ของประเทศไทย 2566 อยู่ในระดับไม่เกินเกณฑ์
                  มาตรฐาน ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ คือ
                         1. ควรศึกษาค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในอวัยวะอื่น ๆ ต่อยอดและเก็บข้อมูลจากเครื่องเอกซเรย์ทุกเครื่องที่ใช้
                  งาน

                         2. จัดทำ Exposure chart ในเครื่องเอกซเรย์ทุกเครื่อง
                         3. แนะนำให้ทบทวนค่าปริมาณรังสีวินิจฉัยอ้างอิงทุก 3 – 5 ปี
                         4. กระตุ้น ส่งเสริมให้นักรังสีการแพทย์ผู้ปฏิบัติงานให้ความสำคัญในการปรับตั้งปริมาณรังสี Exposure
                  technique เพื่อให้ตนเอง ผู้ป่วยและบุคคลทั่วไป ปลอดภัยจากรังสี และเพื่อให้ได้ภาพรังสีที่มีคุณภาพดีให้แพทย์

                  วินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ โดยใช้ปริมาณรังสีน้อยที่สุด
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189