Page 222 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 222

E31


                                 ผลของแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุราสำหรับผู้ป่วยใน

                                                                 นางมยุรี มหาเจริญสิริ และนางสาวกาญจนา บำรุงวุฒิ

                                                                  โรงพยาบาลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เขตสุขภาพที่ 4
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                         ภาวะขาดสุราเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ในผู้ติดสุราและหยุดดื่มสุราทันที ซึ่งผู้ติดสุราในที่นี้หมายถึงผู้ที่
                  ได้รับการวินิจฉัยเป็น Alcohol Dependence ที่มีคะแนน AUDIT 20 คะแนน ขึ้นไป อาการขาดสุราเกิดได้
                  ตั้งแต่ 6 ถึง 96 ชั่วโมงหลังดื่มครั้งสุดท้าย อาการขาดสุราจะมีตั้งแต่อาการขาดสุราเล็กน้อย เช่น มือสั่น ใจสั่น

                  หงุดหงิดวิตกกังวล เหงื่อออกมือ นอนไม่หลับ อาการขาดสุราปานกลาง เช่น ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตสูง มีไข้
                  คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออกมาก ตัวสั่น กระสับกระส่าย กระวนกระวาย ผุดลุกผุดนั่ง อยู่นิ่งไม่ได้ เดินไปมา
                  อาการขาดสุรารุนแรง เช่น มีภาวะเพ้อ สับสน ร่วมกับมีอาการกระสับกระส่ายอย่างมาก สมาธิลดลง อาจมี

                  อาการหูแว่ว ภาพหลอน หลงผิด หวาดระแวง ร่วมด้วย โดยอาการขาดสุราระดับรุนแรง ถ้าจะมีอาการมักจะ
                  เกิดขึ้นภายใน 72 ชั่วโมงหลังดื่มครั้งสุดท้าย
                         โรงพยาบาลโคกสำโรง เคยมีรายงานอุบัติการณ์ มีผู้ป่วยชาย 1 ราย กระโดดจากตึกผู้ป่วยในชั้น 3
                  เนื่องจากเกิดภาวะขาดสุรารุนแรงขณะนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และมีผู้ป่วยอุบัติเหตุชาย 2 ราย ต้อง

                  เลื่อนการผ่าตัดศัลยกรรมกระดูกเนื่องจากเกิดภาวะขาดสุรารุนแรงขณะนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเช่นกัน
                  จากการรวบรวมข้อมูลปี 2563-2564 มีผู้ป่วยที่นอนพักรักษาด้วยโรคทางกายและเป็นผู้ติดสุรา (F1020
                  Alcohol Dependence) (ตามรหัส ICD10)เท่ากับ154 ,145 ราย ระหว่างนอนพักรักษาในโรงพยาบาลเกิด
                  ภาวะขาดสุรา(F1030 Alcohol, Withdrawal state, Uncomplicated) 50, 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 32.47,

                  26.21 เกิดภาวะขาดสุรารุนแรง (F1031 Alcohol, Withdrawal state, With convulsions) 8,10 ราย คิด
                  เป็นร้อยละ 5.19, 6.90 เกิดภาวะขาดสุราแบบเพ้อ สับสน (F1040 Alcohol, Withdrawal state with
                  delirium) 4, 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.60, 2.76 ตามลำดับ เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสุราแทรกซ้อนขึ้นขณะนอน
                  พักรักษาในโรงพยาบาลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเช่น ผู้ป่วยอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ผู้ป่วยใช้ระยะเวลาในการนอน

                  รักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น มีค่าใช้จ่ายในการรักษามากขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าเจ้าหน้าที่พยาบาล
                  ขาดความรู้ ขาดทักษะในประเมินและการดูแลผู้ที่มีภาวะขาดสุรา หากสามารถประเมิน ดูแลป้องกันมิให้ผู้ป่วย
                  เกิดภาวะขาดสุรารุนแรงได้ จะสามารถลดผลกระทบจากการเกิดภาวะขาดสุราได้

                         ดังนั้นผู้ศึกษาจึงสนในศึกษาพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุราสำหรับผู้ป่วยใน เพื่อเป็น
                  แนวทางให้เจ้าหน้าที่พยาบาลนำมาใช้ในการดูแลผู้ติดสุราที่นอนพักรักษาในโรงพยาบาลโคกสำโรงเพื่อให้ผู้ป่วย
                  ปลอดภัย ไม่เกิดภาวะขาดสุรารุนแรงแทรกซ้อน

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุราสำหรับผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลโคก

                  สำโรง ต่อการเกิดภาวะขาดสุรา
   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227