Page 303 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 303

G15


                     การเพิ่มผลผลิตและคุณค่าในงานเภสัชกรรมแบบไร้รอยต่อด้วยการบริการเภสัชกรรม

                  ทางไกลและการบริหารจัดการเชิงระบบด้วยแนวคิดลีน (Productivity and Value Added in

                   Seamless Pharmacy Service by Telepharmacy and Systemic Administration by
                                                       Lean Concept)

                                                                        วัชรินทร์ ไชยาถา, จุฬารัตน์ โค้วประเสริฐสุข

                                                                โรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เขตสุขภาพที่ 1
                                                                                               ประเภทวิชาการ

                  1.ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                          การบริการเภสัชกรรมทางไกลเป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์วิถีใหม่ในระบบสุขภาพชุมชนที่จำเป็นต้องมี
                  หลักประกันคุณภาพที่ไม่ด้อยกว่าการให้บริการเภสัชกรรมรูปแบบปกติในรพ. ภายใต้บริบทข้อจำกัดขององค์กร
                  และพื้นที่ อ.เชียงแสนซึ่งเป็นสังคมชนบทและพื้นที่ชายแดน และการออกนอกระบบของรพ.สต จึงเป็นความท้า
                  ทายในการวิจัยครั้งนี้

                  2. วัตถุประสงค์การศึกษา

                         เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงงานเภสัชกรรมทางไกลของ รพ.เชียงแสนด้วยการบริหารจัดการเชิงระบบ
                  และแนวคิดลีน (Lean) โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง

                  3. วิธีการศึกษา
                          ออกแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ระยะเวลาศึกษา 12 เดือน (เม.ย.2566 –มี.ค.2567) พื้นที่ศึกษาคือ
                  รพ.เชียงแสนและพื้นที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย วิเคราะห์กระบวนงานด้วยเครื่องมือคุณภาพตามแนวคิดลีน

                  ได้แก่ (1) ผังการไหลในกระบวนงาน (2) แผนผังสาเหตุและผล (3) แผนผังสายธารแห่งคุณค่า (4) วิเคราะห์
                  ความสูญเปล่าตามแนวทาง DOWNTIME (5) วิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของกิจกรรม (6) ปรับปรุงงานใช้หลัก ECRS
                  และ 5W1H (7) ทดลองระบบที่ปรับปรุงใหม่ เปรียบเทียบการเพิ่มผลผลิตและคุณค่าของงานในช่วง 6 เดือน

                  (เม.ย. – ก.ย.2566) ก่อนปรับปรุงงาน (Pre-Lean) และในช่วง 6 เดือน (ต.ค.2566 – มี.ค.2567) หลังปรับปรุง
                  งาน (Post-Lean) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินตนเองและวิเคราะห์ Gap Analysis และแบบวิเคราะห์
                  กระบวนการ ปรับปรุงงานในมิติ (1) การนำและการอภิบาล (2) การออกแบบบริการ (3) พัฒนาเครือข่าย
                  ได้แก่ (ก) จัดเวทีปฏิบัติการบุคลากรทางการแพทย์จาก รพ.เชียงแสน รพ.สต. 60 คน (ข) จัดอบรม อสม. 50
                  คน ประเมินความรู้ ความเข้าใจในงานเภสัชกรรมทางไกลด้วยแบบสอบถาม และประเมินความรอบรู้ด้านการ

                  ใช้ยาสมเหตุผลด้วยแบบสำรวจของ สป.สาธารณสุข (ค) จัดเวทีปฏิบัติการผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อและ อสม.
                  พื้นที่ ต.เวียง 50 คน (3) สัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลเภสัชกรและทีมงาน 17 คน ถึงประสบการณ์และมุมมองใน
                  งานเภสัชกรรมทางไกลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (4) เปรียบเทียบจำนวนผู้รับบริการเภสัชกรรมทางไกล

                  ก่อนและหลังปรับปรุงงานและศึกษาความพึงพอใจโดยรวมและปัญหาอุปสรรคในการรับบริการด้วย
                  แบบสอบถาม คัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัยแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลที่พัฒนาโดยผู้วิจัยผ่านการ
                  ประเมินความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
                  ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อย

                  ละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเปรียบเทียบ t-test dependent

                  4. ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์กระบวนงานพบความสูญเปล่า 21 ด้านที่ส่งผลให้ผลงานไม่เป็นตามที่องค์กร
                  ตั้งเป้าหมายไว้  ภายหลังขจัดความสูญเปล่าและปรับปรุงงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานและข้อกำหนดในงาน
   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307   308