Page 304 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 304

G16


                  เภสัชกรรมทางไกลของสภาเภสัชกรรมซึ่งสามารถทำได้ทุกด้าน ยกเว้นด้านเทคโนโลยีสุขภาพจากข้อจำกัดด้าน

                  งบประมาณขององค์กร และการไม่ได้ใช้แพลตฟอร์มที่สภาเภสัชกรรมรับรองแต่ใช้ LINE Application และ
                  โทรศัพท์เคลื่อนให้บริการเนื่องจากสะดวกต่อผู้รับบริการ ได้รับงบจัดซื้อยาเพิ่มร้อยละ 18 เพื่อจัดตั้งกองทุนยา
                  หมุนเวียนในงานเภสัชกรรมทางไกล มีระบบส่งยาผ่านรพ.สต. อสม.และไปรษณีย์ ผู้รับบริการสามารถใช้สิทธิ

                  การรักษาที่มีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ออกแบบเภสัชกรรมทางไกล 4 รูปแบบที่พบว่ามีสายธารแห่งคุณค่าต่อ
                  ผู้รับบริการสูงกว่าการบริการเภสัชกรรมปกติในรพ.ดังนี้ (1) รูปแบบ Hospital Telepharmacy สำหรับผู้ป่วย
                  รับยาจาก รพ.เชียงแสน ในด้านผู้รับบริการ การบริการเภสัชกรรมทางไกลใช้เวลารวมทั้งหมดในกระบวนการ
                  (Process Time, PT) ระยะเวลารอคอย (Delay Time, DT) และรอบเวลาทั้งหมดที่ใช้ในกระบวนการ (Total

                  Turnaround Time, TAT) น้อยกว่าการบริการเภสัชกรรมปกติใน รพ. 30, 295 และ 325 นาที ตามลำดับ
                  คุณค่าต่อผู้รับบริการ (Value Added, VA) และคุณภาพงานที่ทำได้ถูกต้องในครั้งแรกของทั้งกระบวนการ
                  (Total First Time Quality, Total FTQ) มากกว่าการบริการเภสัชกรรมปกติใน รพ.30.51 และ 4.76 %
                  ตามลำดับ ในด้านผู้ให้บริการ การบริการเภสัชกรรมทางไกลมี TAT มากกว่าการบริการเภสัชกรรมปกติใน รพ.

                  60 นาที (2) รูปแบบ Telepharmacy@PCU สำหรับผู้ป่วยที่รับยาต่อเนื่องที่ รพ.สต. ใน อ.เชียงแสน ภายหลัง
                  การปรับปรุงงานผู้ป่วยกลุ่มนี้ทุกรายได้รับการบริบาลเภสัชกรรม จากเดิมก่อนปรับปรุงงานไม่ได้รับการบริบาล
                  เภสัชกรรม ในด้านผู้รับบริการ การบริการเภสัชกรรมทางไกลมี PT, DT และ TAT น้อยกว่าการบริการเภสัช
                  กรรมปกติใน รพ. 45, 265 และ 310 นาที ตามลำดับ VA และ Total FTQ มากกว่าการบริการเภสัชกรรม

                  ปกติใน รพ. 23.67 และ 4.71% ตามลำดับ ในด้านผู้ให้บริการ การบริการเภสัชกรรมทางไกลมี TAT มากกว่า
                  การบริการเภสัชกรรมปกติใน รพ. 40 นาที (3) รูปแบบ Telepharmacy@homevisit สำหรับระบบเยี่ยมบ้าน
                  ผู้ป่วย ในด้านผู้รับบริการ การเยี่ยมบ้านด้วยระบบเภสัชกรรมทางไกลมี PT, DT,TAT, VA และ Total FTQ
                  เท่ากับการเยี่ยมบ้านระบบเดิม ในด้านผู้ให้บริการ การบริการเภสัชกรรมทางไกลมี TAT น้อยกว่าการเยี่ยมบ้าน

                  ระบบเดิม 65 นาที และ (4) รูปแบบ Telepharmacy@homeward สำหรับผู้ป่วยใน ระบบ Homeward  ใน
                  ด้านผู้รับบริการ การบริการเภสัชกรรมทางไกลมี PT, DT และ TAT น้อยกว่าการบริการเภสัชกรรมปกติใน รพ.
                  35, 100 และ 135 นาที ตามลำดับ VA และ Total FTQ มากกว่าการบริการเภสัชกรรมปกติใน รพ. 33.96
                  และ 2.83 % ตามลำดับ ในด้านผู้ให้บริการ การบริการเภสัชกรรมทางไกลมี TAT มากกว่าการบริการเภสัช

                  กรรมปกติใน รพ. 65 นาที  ภายหลังการปรับปรุงงานจำนวนผู้รับบริการเภสัชกรรมทางไกลรวมเพิ่มขึ้น 277
                  ราย (Pre-lean 39 ราย / Post-lean 316 ราย) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ความพึงพอใจของผู้ป่วย 316 รายอยู่
                  ในระดับมากที่สุดและมาก ร้อยละ 88 และ 12 ตามลำดับ พบปัญหาอุปสรรคด้านการสื่อสารจากข้อจำกัดของ

                  ผู้ป่วยร้อยละ 28  ด้านสัญญาณอินเตอร์เน็ตร้อยละ 41  ผู้รับบริการไม่สะดวกตามนัดทำให้เภสัชกรรมต้องใช้
                  เวลาเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ผลการพัฒนาเครือข่ายงานพบว่า (1) กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ มีการเตรียมความ
                  พร้อมและออกแบบระบบการแพทย์ทางไกลร่วมกับเภสัชกรรมทางไกล มีกลุ่มไลน์ Chiangsaen
                  Telepharmacy ในการดูแลผู้ป่วยด้านยาร่วมกัน และ (2) กลุ่ม อสม.มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และความเข้าใจ
                  ในงานเภสัชกรรมทางไกลและความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของเพิ่มขึ้นหลังการอบรมอย่างมี

                  นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อสม. ร่วมเป็น Telepharmacy Man และ Health Rider ในงานเภสัชกรรม
                  ทางไกล  ผลการทดลองใช้แพลตฟอร์ม i-Tele และ `แพลตฟอร์ม หมอพร้อมในงานเภสัชกรรมทางไกลพบว่ามี
                  ความยุ่งยากต่อ อสม. และผู้รับบริการ จึงปรับมาให้บริการสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และ Line

                  Application มุมมองของเภสัชกรและทีมงานมีทัศนคติเชิงบวกต่อข้อกำหนดของสภาเภสัชกรรม ถือปฏิบัติและ
                  มองเห็นประโยชน์ของงานเภสัชกรรมทางไกลที่จะเกิดขึ้นต่อผู้รับบริการ แต่ยังมีความกังวลด้าน (1) ข้อจำกัด
                  ขององค์กรด้านเทคโนโลยีรองรับ (2) การไม่ได้ใช้แพลตฟอร์มที่สภาเภสัชกรรม ประเทศไทยรับรอง (3) ข้อ
                  กฎหมายและความเสี่ยงด้านการฟ้องร้องหรือการถูกร้องเรียน (4) คุณภาพบริการจากปัญหาสัญญาณ
   299   300   301   302   303   304   305   306   307   308   309