Page 305 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 305

G17


                  อินเตอร์เน็ตที่ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ให้บริการ ความเหลื่อมลํ้าของกลุ่มผู้รับบริการในด้านเศรษฐกิจสังคม

                  ความรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร และจากการที่เภสัชกรไม่ได้พบกับผู้ป่วยโดยตรง (5) ภาระงานของ
                  เภสัชกรและทีมงาน (6) ภาระงานและขวัญกำลังใจของ อสม.และจิตอาสา ผู้วิจัยได้ถอดถอนบทเรียน
                  ประสบการณ์ในงานเภสัชกรรมทางไกลของ รพ.เชียงแสนใน 2 ช่วงเวลาคือช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 และ

                  ช่วง new normal ถึงปัจจุบัน
                  5. อภิปรายผล ผลการปรับปรุงงานเภสัชกรสามารถให้บริการเภสัชกรรมทางไกลที่สอดคล้องกับมาตรฐานและ

                  ข้อกำหนดของสภาเภสัชกรรม มีความเหมาะสมกับบริบทขององค์กรและพื้นที่ ทำให้เพิ่มผลผลิตและคุณค่าต่อ
                  ผู้รับบริการ ลดการสูญเสียเวลา ค่าใช้จ่าย ความเครียดของผู้รับบริการจากการรอคอยรับบริการและจากการ
                  เดินทางมารพ. ลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อจากรพ. ผู้รับบริการเข้าถึงการบริบาลทางเภสัชกรรมเพิ่มขึ้น

                  สะดวกและพึงพอใจเพิ่มขึ้น เภสัชกรสามารถดูแลผู้ป่วยด้านการใช้ยา ช่วยลดโอกาสเสี่ยงด้านยาและส่งเสริม
                  ความร่วมใจในใช้ยาของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ลดความแออัดของผู้รับบริการใน รพ. ลดภาระงานของบุคลากรทาง
                  การแพทย์ แม้เภสัชกรและทีมงานจะมีภาระงานเพิ่มขึ้นแต่ได้เพิ่มคุณค่าในวิชาชีพ ยังพบความเสี่ยงของระบบที่
                  อาจเกิดขึ้นได้จากตัวระบบเองหรือจากบุคคล งานวิจัยนี้จึงได้จัดทำข้อกำหนดในงานเภสัชกรรมทางไกล 9 ด้าน

                  เพื่อเป็นหลักการประกันคุณภาพในงาน องค์กรจำเป็นต้องมีการนำและการอภิบาลเชิงระบบสำหรับงานเภสัช
                  กรรมทางไกลและการแพทย์ทางไกล การนำผลวิจัยไปใช้พื้นที่อื่นต้องมีการประยุกต์ใช้เนื่องจากบริบทที่ต่างกัน
                  งานวิจัยนี้ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สสจ.เชียงราย

                  6. สรุปและข้อเสนอแนะ การบริการเภสัชกรรมทางไกลรูปแบบใหม่ของ รพ.เชียงแสนสามารถเพิ่มผลผลิตและ
                  คุณค่าต่อผู้รับบริการและต่อผู้ให้บริการ เกิดรูปแบบ กลไก ความร่วมมือและกระบวนการเรียนรู้ในงานร่วมกับ

                  ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์วิถีใหม่ในระบบสุขภาพชุมชนประเทศไทย ผู้วิจัย
                  สังเคราะห์ข้อเสนอแนะ 9 มิติประกอบด้วย (1) ข้อบังคับทางกฎหมาย (2) มาตรฐานและ แนวปฏิบัติ (3)
                  ระบบข้อมูล (4) การประกันคุณภาพ (5) การเตรียมพร้อมรับผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (6)

                  การดำเนินงานเชิงธุรกิจสุขภาพขององค์กร (7) การเชื่อมโยงบริการกับ รพ.อื่นสถานพยาบาลเอกชน ร้านยา
                  รพ.สต.และองค์กรท้องถิ่นภายใต้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ (7) ค่างานและกำลังคนเภสัชกรและทีมงาน (8)
                  บทบาทและขวัญกำลังใจของอสม.และ (9) การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนในการพัฒนางาน การวิจัยต่อเนื่องที่กำลัง
                  ดำเนินการศึกษาผลลัพธ์เชิงคลินิกต่อผู้ป่วย บทบาทของ อสม ในการเป็น Telepharmacy Man และ Health
                  Riders และ และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของงาน
   300   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310