Page 301 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 301

G13

                      (กล้อง/ไมร์) ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ทั้งในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) และ
                      โรงพยาบาล โดยแนะนำให้ทำการสำรองอุปกรณ์และระบบอินเตอร์เน็ตในกรณีที่มีการชำรุด เพื่อให้การ
                      บริการสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ระบบอินเตอร์สามารถใช้ร่วมกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G/5G และ

                      R12 network สามารถใช้งานได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปและอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่าง
                      tablet/telephone โดยต้องออกแบบร่วมกันกับนักวิชาการคอมพิวเตอร์


                                            แผนภาพที่ 7 R12 Network telemedicine



























                         4) การจัดคลังและการขนส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์

                         การจัดคลังและการขนส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ต้องมีการทบทวนบัญชียาและการตรวจสอบคลัง
                  อย่างสะสม่ำเสมอ เพื่อรองรับบริการแพทย์ทางไกล รวมถึงกำหนดแนวทางการขนส่งยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา
                  ในกรณีที่แพทย์สั่งจ่ายยาจากคลังโรงพยาบาลไปยังผู้ป่วยที่เข้ารับบริการแพทย์ทางไกล ณ โรงพยาบาลส่งเสริม
                  สุขภาพตำบล (รพ.สต) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาและบริการที่สมบูรณ์ รวดเร็ว และได้มาตรฐาน ซึ่งต้องอาศัยความ

                  ร่วมมือจากเภสัชกรในการจัดทำแนวทางและมาตรฐานเรื่องคลังและการขนส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ และการ
                  ขนส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์สามารถใช้ร่วมกับระบบส่งยาทางไปรษณีย์และการส่งยาทางโดรนที่อาจจะเกิดขึ้น
                  ในอนาคต

                         5) การจัดการด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
                          การจัดการด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ต้องมีแนวทางการจัดเก็บสิ่งส่งตรวจ การขนส่งสิ่งตรวจ
                  และการรายงานผลการตรวจที่มีมาตรฐาน ต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติการจัดเก็บสิ่งส่งตรวจ การขนส่งสิ่งตรวจ
                  และการรายงานผลการตรวจ ซึ่งต้องออกแบบร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล

                  ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) กลุ่มภารกิจอำนวยการ โดยการขนส่งเลือดแทนการให้ผู้ป่วยเดินทางมารับ
                  บริการเจาะเลือดที่โรงพยาบาลจะช่วยสนับสนุนระบบริการการแพทย์ทางไกล โดยการเจาะเลือดในสถาน
                  บริการสุขภาพใกล้บ้านอาจจะช่วยส่งเสริมการทำงานบริการการแพทย์ทางไกลเพิ่มมากขึ้นในอนาคต รวมถึง
                  การพัฒนาการบริการขนส่งสิ่งสงตรวจด้วยโดรนในอนาคต อาจจะช่วยลดภาระ ความเสี่ยง ด้านการเดินทาง

                  และเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพมากขึ้นของผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล และผลการตรวจทาง
                  ห้องปฏิบัติการต้องนำไปบันทึกในโปรแกรม JHCI หรือ HOSxp PCU ณ วันที่แพทย์สั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
                  เพื่อให้ข้อมูลดึงเข้าสู่ R12 network และแพทย์สามารถใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการรักษาในครั้ง
                  ต่อไป
   296   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306