Page 302 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 302
G14
Study: กิจกรรมการทดสอบระบบเสมือนจริง
การพัฒนาในขั้นตอนนี้ต้องมีการจำลองเหตุการณ์เสมือนจริงในการให้บริการการแพทย์ทางไกล เพื่อ
ทบทวนแนวปฏิบัติทั้งในส่วนด้านคลินิกและระบบสารสนเทศ
Act: กิจกรรม kick off ระบบบริการการแพทย์ทางไกลผู้ป่วยปฐมภูมิพื้นที่โซนเกาะ โรงพยาบาลสตูล
การพัฒนาในขั้นตอนนี้ เพื่อให้มีการสื่อสารระบบบริการรูปแบบใหม่ที่ยังคงมีคำถามมากมายการ
ดำเนินงาน kick off ระบบบริการการแพทย์ทางไกลผู้ป่วยปฐมภูมิพื้นที่โซนเกาะ โรงพยาบาลสตูล จะเป็นการ
สื่อสารที่ดีทั้งในส่วนของผู้บริหาร ผู้ให้บริการ และผู้ป่วย
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า ผู้ป่วยเข้ารับบริการ ระหว่าง ตุลาคม 2565 ถึง มีนาคม 2567
จำนวน 259 ราย โรคที่ให้บริการตรวจรักษามากที่สุดคือ เบาหวานและความดันโลหิตสูง และไม่พบผู้ป่วยโรค
เรื้อรังขาดนัดเนื่องจากมีอุปสรรการเดินทาง
อภิปรายผล
การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ทางไกลผู้ป่วยปฐมภูมิพื้นที่โซนเกาะ โรงพยาบาลสตูล ที่พัฒนาจาก
มาตรฐานทางการแพทย์ สามารถเพิ่มศักยภาพด้านการบริการปฐมภูมิ ลดข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ ลด
โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยพื้นที่ชายขอบ ลดต้นทุนบริการ
ทางอ้อมทั้งในส่วนของผู้ป่วยและผู้ให้บริการ โดยการพัฒนาครั้งนี้เป็นต้นแบบการในการนำระบบการแพทย์
ทางไกลไปขยายผลดำเนินการในพื้นที่อื่นๆของเขตบริการสุขภาพที่ 12
สรุปและข้อเสนอแนะ
การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ทางไกลควรตระหนักถึงมาตรฐานทางการแพทย์ควบคู่กับการพัฒนา
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากการให้บริการการแพทย์ทางไกล ไม่ได้ได้ต่างจากการให้บริการในสถาน
บริการทางการแพทย์ ดังนั้นคุณภาพบริการและการจัดการความเสี่ยงควรเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน