Page 349 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 349
I9
เส้นใจ...ไตเทียม
นางสาววราภรณ์ เจริญจิตร
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เขตสุขภาพที่ 6
ประเภทนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
ยาปฏิชีวนะที่มีพิษต่อไต ชนิดฉีดเข้าทางหลอดเลือด เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะไตวาย ในการ
รักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis Patients) หลอดนำเลือด
(Vascular access) ถือว่ามีความสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นทางนำเลือดออกจากตัวผู้ป่วย ผ่านเครื่องฟอกเลือด
กำจัดของเสีย และนำเลือดกลับสู่ผู้ป่วย หากมีความบกพร่องของหลอดนำเลือด กระบวนการฟอกเลือด
ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ มีวิธีการตรวจและติดตามการทำงานของ vascular access หลายวิธี ได้แก่ การตรวจ
ร่างกาย การวัด Venous dialysis pressure การวัด Recirculation การตรวจ Doppler ultrasound
การตรวจ ultrasound dilution technique และ angiogram K-DOQI แนะนำให้ตรวจ Access flow โดยใช้
วิธี ultrasound dilution technique ซึ่งการตรวจต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ มีค่าใช้จ่ายราคา 2,000 - 5,000 บาท
ต่อการตรวจ 1 ครั้ง และไม่สามารถตรวจได้ที่ รพ. เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีโอกาส
เข้าถึงในการตรวจวัด Access flow เพื่อประเมิน Vascular Access ส่งผลให้ไม่สามารถประเมิน
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ทำให้เกิด Vascular failure ไม่สามารถ Hemodialysis ได้และ
ผู้ป่วยต้องทำ Vascular Access ใหม่ หรือต้องใส่ Vascular Access แบบชั่วคราว ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพความ
เพียงพอของการฟอกเลือด เพิ่มค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัว ทางหน่วยไตเทียม 1 เล็งเห็นความสำคัญ
ของปัญหานี้ ประกอบกับในปัจจุบันมีการคิดค้นดัดแปลงวิธีการคำนวณ Vascular Access flow จากการวัด
ค่า on- line conductivity clearance (OCM) ซึ่งเป็นรุ่นของเครื่องไตเทียมที่ใช้เป็นส่วนใหญ่ของ
รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ทำให้สามารถวัด Vascular Access flow ในผู้ป่วยขณะฟอกเลือดได้ โดยไม่มี
ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สะดวกต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ผลที่ได้มีความน่าเชื่อถือ และหากพบความผิดปกติ
สามารถส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาต่ออย่างทันท่วงที ลดการเกิด Vascular failure ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้ป่วยที่ใช้เส้น AVF ได้รับการประเมิน Access flow เท่ากับ 100%
2. เพื่อลดการเกิดความเสียหายของเส้นฟอกเลือด (Vascular failure) ให้ <10 % ภายในเวลา 1 ปี
3. เพื่อยกระดับการให้บริการผู้ป่วยให้ได้เข้าถึงการตรวจรักษาที่เฉพาะทางมากขึ้น
4. เพื่อลดค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
5. เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการให้มีความเชี่ยวชาญและดูแลโดยเน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญ