Page 352 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 352
I12
ผลการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มีภาวะน้ำเกิน
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
สิรินาฎ ระวีวรรณ จิตรา มาถาวร สมคิด ตาทิพย์
ปรีชยา ไชยกาล,และ พัชรกร สงค์แก้ว
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี เขตสุขภาพที่ 10
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์มีผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องปี 2560-2562 เฉลี่ย 420-450 ราย
ปัจจุบัน 245 ราย การทบทวนสถิติย้อนหลังปี 2560 - 2562 พบว่า มีผู้ป่วยมานอนโรงพยาบาล
ด้วยภาวะแทรกซ้อน 253,283,221 รายตามลำดับ ภาวะแทรกซ้อนที่พบเป็นอันดับหนึ่ง คือ ภาวะน้ำเกิน
(Volume overload) คิดเป็นร้อยละ 50.5 และมีผู้ป่วยน้ำเกินรุนแรงจนมีระบบหายใจล้มเหลวและต้องใช้
เครื่องช่วยหายใจคิดเป็นร้อยละ 25 ของผู้ป่วยน้ำเกินที่มานอนโรงพยาบาล ในส่วนของการรับ Refer
จากโรงพยาบาลเครือข่ายในจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ป่วยมาด้วยภาวะน้ำเกินปี 2560 - 2562 72,52,73 ราย
เป็นผู้ป่วยหนักที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 20,16,26 รายคิดเป็นร้อยละ 31.4 จากการวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่า
ด้านผู้ป่วยและผู้ดูแลขาดความรู้ความมั่นใจเรื่อง การประเมินตนเองและการแก้ไขเบื้องต้น เมื่อมีภาวะน้ำเกิน
ประกอบกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารรสเค็ม ด้านบุคลากรมีการปฏิบัติการพยาบาลที่แตกต่างกัน
ยังไม่มีแนวทางการดูแลที่ชัดเจน การประเมินติดตามอาการผู้ป่วยไม่ต่อเนื่อง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่าง
ทันท่วงทีผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มีภาวะน้ำเกิน
จะมีอัตราการตายสูงถึง 13.56 เท่า การดึงน้ำเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลโดยตรงต่ออัตราการรอดชีวิต
ผู้ป่วยที่ควบคุมภาวะน้ำเกินจะทำให้การทำงานของ cardiac function ดีขึ้น ความดันโลหิตจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ศูนย์ไตเทียมจึงได้มีแนวคิด ในการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่อง
ท้องที่มีภาวะน้ำเกิน นำมาใช้เป็นรูปแบบเดียวกัน ตั้งแต่ปี 2562 โดยใช้กระบวนการลดปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย
เสี่ยงร่วมกัน พร้อมกับการติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยวิธีการโทรศัพท์ติดตามทุก 1-7 วัน นำโดยพยาบาล
ล้างไตทางช่องท้องที่เป็นผู้ดูแลหลัก ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ และติดตามเก็บข้อมูลผู้ป่วยมาระยะเวลา 5 ปี
จึงนำข้อมูลมาสรุปผลการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มีภาวะน้ำเกินโรงพยาบาล
สรรพสิทธิประสงค์ เพื่อทำเป็น The Best Practice ของหน่วยงานต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะน้ำเกินและอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง
วิธีการศึกษา
มกราคม 2562 จากการรวบรวมสถิติย้อนหลังพบว่า สาเหตุหลักที่ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง
มานอนโรงพยาบาลด้วยสาเหตุภาวะน้ำเกิน ทางทีมแพทย์และพยาบาลจึงได้ประชุมหา Gap analysis
และวางแผนการทำงานร่วมกัน โดยใช้กระบวนการคุณภาพ PDCA ในการพัฒนา เมษายน 2562 ค้นคว้า