Page 353 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 353
I13
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาซึ่งการพัฒนา ออกแบบแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มีภาวะ
น้ำเกินตั้งแต่ระยะแรกเริ่มที่ไม่มีอาการรุนแรง และมีการให้ความรู้ในการดูแลตนเองอย่างเป็นระบบ ปี 2563-
2564 ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางตามกระบวนการ PDCA เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับภาวะน้ำเกินได้เอง
เมื่ออยู่ที่บ้าน ปี 2565-2566 จึงมีแนวทางการดูแล ดังนี้ 1. มีการคัดกรองผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำเกิน
หาสาเหตุโดยใช้แบบประเมิน 2.กำหนดแนวทางในการรักษาโดยใช้น้ำยาล้างไต 2.5 % 4.25 % ผ่านการ
ตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3.ครั้งที่ 1 พยาบาลให้ความรู้แบบ Individual ตามหัวข้อที่กำหนด 4.มอบคู่มือการ
ดูแลตนเอง/คิวอาร์โค้ด/มอบขวดตวงน้ำดื่ม /ให้ยืมเครื่องวัดความดันโลหิต ตาชั่งน้ำหนัก 5.ลงตาราง
เพื่อโทรติดตามเยี่ยมผู้ป่วยทางโทรศัพท์ 6.ใช้สัญลักษณ์ตัว V ติดที่สันแฟ้มผู้ป่วยเพื่อติดตามการมาตรวจ
ตามนัดครั้งถัดไป 7.จัดกิจกรรมให้ความรู้ Individual group
ผลการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้แนวทางการดูแลที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้ทั้งหมด 224 ราย มีอัตราการเกิดภาวะน้ำเกิน
รุนแรงจนมีระบบหายใจล้มเหลวและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจลดลง 51 % (HR=0.49, 95 % CI:0.32, 0.75)
โดยกลุ่มที่ใช้การดูแลแบบเดิมมีค่ามัธยฐาน (Median time) ของการเกิดภาวะน้ำเกิน = 17.6 เดือน
(95% CI:12.8, 26.9) และกลุ่มที่ใช้แนวทางการดูแลที่พัฒนาขึ้นมาใหม่มี Median time = 48.0 เดือน
(95%CI: 37.6, .) นอกจากนั้นยังส่งผลให้อัตราการตาย (all cause mortality) ของผู้ป่วยที่ใช้แนวทาง
แบบใหม่ (เมื่อ adjust กับปัจจัยที่เป็น potential confounders ทั้งหมดแล้ว) ลดลง 52% (HR = 0.48,
95%CI: 0.37, 0.64) เมื่อเทียบกับแนวทางเดิม ที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานเดิม (standard care)
โดยกลุ่มที่ใช้แนวทางเดิมมี Median time ของการเสียชีวิต = 13.6 เดือน (95%CI: 10.2, 16.6) และกลุ่มที่ใช้
แนวทางการดูแลแบบใหม่ = 33.2 เดือน (95%CI: 26.9, 36.9) (validated กับฐานข้อมูลจาก สปสช.
และฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย)
อภิปรายผล
สาเหตุที่ผู้ป่วยมีภาวะน้ำเกินมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารเค็ม เช่น ส้มตำ ผงชูรส ปลาร้า
เนื่องจากเป็นอาหารพื้นบ้านยากที่จะควบคุมได้ดังนั้น การให้ความรู้การดูแลตนเองสังเกตอาการผิดปกติ
และสามารถจัดการภาวะน้ำเกินเบื้องต้นที่ไม่ให้เข้าสู่ระยะที่รุนแรงจนต้องมานอนโรงพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญ
ที่พยาบาลต้องตระหนัก และการออกแบบระบบงานให้ง่ายขึ้นเพื่อดักจับผู้ป่วยน้ำเกินตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
จะสามารถจัดการภาวะน้ำเกินไม่ให้เข้าสู่ระยะรุนแรงยังคงต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องโดยใช้การติดตามทาง
โทรศัพท์ สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล
สรุปและข้อเสนอแนะ
การออกแบบและพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มีภาวะน้ำเกิน ให้มีมาตรฐาน
ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการออกแบบระบบการดูแล ทำให้ลดอัตราการเกิดภาวะน้ำเกินและที่สำคัญลดอัตราการ
เสียชีวิตได้