Page 439 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 439
K34
ประสิทธิผลการให้บริบาลเภสัชกรรมต่อการสั่งใช้ยากลุ่มสเตติน
สำหรับการป้องกันทุติยภูมิในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด
เภสัชกรหญิงสุนันทา เมรุ, เภสัชกรหญิงนันทวรรณ ว่องไว และนายแพทย์สิทธิพงษ์ ดำรงค์พิวัฒน์
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดหรือสมองขาดเลือดชั่วขณะ (acute ischemic stroke; AIS /
transient ischemic attack; TIA) เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขไทย
พบอุบัติการณ์เกิดโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2562-2564 จำนวน 217.58, 222.73 และ 221.71 ราย ต่อ
แสนประชากร ตามลำดับ และพบว่าผู้ป่วย AIS/TIA มีความเสี่ยงสูงต่อการกลับเป็นซ้ำ/เสียชีวิตจาก
โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการป้องกันทุติยภูมิปัจจุบัน AHA/ASA: 2021
Guideline for the Prevention of Stroke in Patients With Stroke and TIA แนะนำให้การป้องกัน
ทุติยภูมิในผู้ป่วย AIS/TIA ทุกรายที่ไม่มีข้อห้าม ด้วยยาต้านเกล็ดเลือด เป็นยาทางเลือกแรก ร่วมกับการควบคุม
ปัจจัยเสี่ยง ซึ่งประเทศไทยกำหนดการให้ยาต้านเกล็ดเลือดภายใน 48 ชั่วโมง เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดมาตรฐานการ
รับรองคุณภาพ พบอัตราการได้รับยาผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80 และกำหนดการให้ยาลดไขมันกลุ่มสเตติน
ขณะจำหน่ายเป็นอีกหนึ่งในตัวชี้วัดมาตรฐาน ซึ่ง AHA/ASA 2021 และแนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะ
ไขมันผิดปกติ พ.ศ. 2559 ได้แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีประวัติ AIS/TIA ควรได้รับการป้องกันทุติยภูมิด้วยยาลดไขมัน
กลุ่ม high-intensity statins เป็นยาทางเลือกแรกและลดระดับ LDL-C ให้ถึงเป้าหมายน้อยกว่า 70 mg/dL
หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 50 จากเริ่มต้น เพื่อลด/ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำและการเสียชีวิตจาก
โรคหัวใจหลอดเลือด แต่ในประเทศไทยการเข้าถึงยากลุ่ม high-intensity statins ของผู้ป่วย AIS/TIA
ยังเป็นไปอย่างจำกัด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 320 เตียง
พบผู้ป่วย AIS/TIA เพิ่มสูงขึ้น ในปีงบ 2563-2564 จำนวน 412 ราย และ 456 ราย ตามลำดับ ปีงบ 2564
พบการสั่งใช้ยากลุ่ม moderate-intensity statins ในการป้องกันทุติยภูมิร้อยละ 81.80 และยากลุ่ม
high-intensity statins เพียงร้อยละ 16.30 และพบผู้ป่วยเพียงร้อยละ 14.30 ที่บรรลุระดับ LDL-C เป้าหมาย
ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาประสิทธิผลการให้บริบาลเภสัชกรรมต่อการสั่งใช้ยากลุ่ม high-intensity
statins สำหรับการป้องกันทุติยภูมิในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด เพื่อให้เกิดการสั่งใช้ยาที่เหมาะสมสอดคล้อง
ตามแนวทางการรักษา ผู้ป่วยบรรลุเป้าหมาย และป้องกันการกลับเป็นซ้ำหรือการเสียชีวิต
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการให้บริบาลเภสัชกรรมต่ออัตราการสั่งใช้ยากลุ่ม high-intensity statins
สำหรับการป้องกันทุติยภูมิสอดคล้องตามแนวทางการรักษาในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด
2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการให้บริบาลเภสัชกรรมต่ออัตราการบรรลุเป้าหมายของระดับ LDL-C ใน
ผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดที่ได้รับการสั่งใช้ยากลุ่ม high-intensity statins สอดคล้องตามแนวทางการรักษา
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาแบบ Quasi-experimental study เปรียบเทียบก่อนและหลังการให้บริบาลเภสัชกรรม
ต่อการสั่งใช้ยากลุ่ม high-intensity statins สำหรับการป้องกันทุติยภูมิในผู้ป่วย AIS/TIA ที่เข้ารับการรักษาตัว
ในโรงพยาบาล ช่วงปีงบประมาณ 2564 - 2565 และติดตาม ณ ที่ 1 ปี หลังจำหน่าย โดยกำหนดเกณฑ์