Page 437 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 437
K32
นั่งทำงานนาน เคลื่อนไหวอวัยวะซ้ำๆ จำนวน 15 ข้อ
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับอาการางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จำนวน 15 ข้อ
รูปที่ 2 เจ้าหน้าที่ รพร.บ้านดุงทำแบบสอบถาม
4. รวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูล โดยผู้วิจัยได้ชี้แจงวัตถุประสงค์และการพิทักษ์สิทธิ
แก่กลุ่มตัวอย่างในแบบสอบถาม จากนั้นเก็บข้อมูลแบบ Online Survey โดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไป
ยังตัวแทนในแต่ละหน่วยงาน ได้ข้อมูล 250 ชุด ผู้วิจัยจึงยุติการรับแบบสอบถามโดยแจ้งและแสดง
ความขอบคุณไปยังตัวแทนหน่วยงาน โดยใช้ Application Line เช่นเดิม
5. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่ออาการบาดเจ็บบริเวณคอ บ่า ไหล่ ของบุคคลากร
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง
ปัจจัยทีละตัวแปร (Bivariate Analysis) ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติกอย่างง่าย (Simple Logistic Regression
Analysis) และพิจารณาตัวแปรที่มีค่า p-value ของ Wald’s test น้อยกว่า 0.25 เข้าสมการวิเคราะห์ด้วยสถิติ
ถดถอยโลจิสติกพหุตัวแปร (Multiple Logistic Regression Analysis) และคัดเลือกตัวแปรที่มีค่า p-value
น้อยกว่า .05 ออกจากสมการด้วยวิธี Backward Elimination นำเสนอด้วยค่า Crude Odds Ratios (OR)
Adjusted Odds Ratio P-value และค่าช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (95% Confidence Interval, 95%CI)
การแปลผลพิจารณาจากค่า Odds Ratios กรณีที่ค่า OR มีค่ามากกว่า 1 แสดงว่าเป็น ปัจจัยนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยง
ต่ออาการบาดเจ็บบริเวณคอ บ่า ไหล่ และกรณีที่ค่า OR มีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออาการ
บาดเจ็บบริเวณคอ บ่า ไหล่ ของบุคคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง
ผลการดำเนินงานวิจัย
ปัจจัย Crude OR Adjusted OR p-value
95% CI 95 % CI
เพศ <.001
ชาย Ref Ref
หญิง 3.43 (1.95-6.03) 3.82 (2.02-7.24)
อายุ .036
21-30 ปี Ref Ref
31-40 ปี 2.01 (1.13-3.56) 2.20 (1.20-4.16)
41-50 ปี 3.00 (1.32-6.82) 2.40 (.97-5.83)
51-60 ปี 1.25 (0.42-3.68) .79 (.19-3.27)
การมีโรคประจำตัว .007
ไม่มีโรค Ref Ref
มีโรค 3.01 (1.40-6.48) 3.66 (1.41-9.43)