Page 440 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 440

K35



                  การคัดเข้า ได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยการวินิจฉัยโรค AIS/TIA อายุมากกว่า 18 ปี
                  จำหน่ายด้วยสถานะมีชีวิต และมีค่า LDL-C ขณะรักษาในโรงพยาบาลและหลังจำหน่ายอย่างน้อย 1 ครั้ง
                  ณ ช่วงติดตามที่ 1 ปี และเกณฑ์การคัดออก ได้แก่ มีประวัติแพ้ยาหรือข้อห้ามใช้ยาโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
                  จากลิ่มเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองแตก เสียชีวิตขณะรักษาในโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษา ผู้ป่วยระยะ
                  สุดท้าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม โดยสถิติ

                  chi-square หรือ fisher exact ในข้อมูลตัวแปรอันดับหรือกลุ่ม และสถิติ independent t-tests หรือ
                  Whitney U tests ในข้อมูลตัวแปรแบบต่อเนื่อง กำหนดค่า p < 0.05 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

                  ผลการศึกษา
                         พบผู้ป่วย AIS/TIA ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 366 ราย แบ่งเป็นช่วงก่อน (ปีงบ 2564) และหลัง
                  การให้บริบาลเภสัชกรรม (ปีงบ 2565) จำนวนกลุ่มละ 183 ราย ผู้ป่วยอายุเฉลี่ย 63.59 ±10.60 ปี และ

                  63.99±10.75 ปี ตามลำดับ ส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 75 ปี ร้อยละ 88.52 และร้อยละ 84.15 ตามลำดับ
                  เปรียบเทียบลักษณะพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มใกล้เคียงกัน พบว่าหลังการให้บริบาลเภสัชกรรม พบอัตราการสั่ง
                  ใช้ยากลุ่ม high-intensity statins สำหรับการป้องกันทุติยภูมิสอดคล้องตามแนวทางการรักษาเพิ่มขึ้นจาก

                  ร้อยละ 15.30 เป็นร้อยละ 53.01 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และพบอัตราการบรรลุ
                  เป้าหมายระดับ LDL-C ณ ติดตาม 1 ปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.98 เป็นร้อยละ 50.27 (p = 0.075) และอัตรา
                  การกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำด้วยโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจและหลอดเลือด หลัง
                  จำหน่าย ณ ช่วงติดตามที่ 1 ปี ลดลงจากร้อยละ 15.85 เป็นร้อยละ 13.66 (p = 0.555) อย่างไรก็ตามไม่พบ

                  ความแตกต่างทางสถิติ

                  อภิปรายผล
                         หลังการให้บริบาลเภสัชกรรมสามารถเพิ่มอัตราการสั่งใช้ยากลุ่ม high-intensity statin ในการ
                  ป้องกันทุติยภูมิสอดคล้องตามแนวทางการรักษาเพียงร้อยละ 53.01 และพบอัตราการบรรลุเป้าหมายระดับ
                  LDL-C ณ ติดตามที่ 1 ปี ได้เพิ่มขึ้นไม่ถึงร้อยละ 10 อาจเป็นผลจากครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา

                  มีระดับ LDL-C ต่ำกว่า 100 mg/dl เป็นเหตุผลหนึ่งที่ไม่ได้รับการสั่งใช้ยา/ยอมรับคำแนะนำของเภสัชกรใน
                  การปรับชนิดยาสเตติน และคำแนะนำในการลดระดับ LDL-C ให้น้อยกว่า 70 mg/dl ยังคงเป็นข้อถกเถียง
                  ในทางปฏิบัติ

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         การให้บริบาลเภสัชกรรมสามารถเพิ่มอัตราการสั่งใช้ยากลุ่ม high-intensity statin สำหรับ

                  การป้องกันทุติยภูมิในผู้ป่วย AIS/TIA สอดคล้องตามแนวทางการรักษา เพิ่มการบรรลุเป้าหมายระดับ LDL-C
                  และลดการกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำ แต่อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมทั้งในด้าน
                  ระยะเวลาที่ทำการศึกษา รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายการรักษา
   435   436   437   438   439   440   441   442   443   444   445