Page 436 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 436

K31


                                       ปัจจัยที่มีผลต่ออาการบาดเจ็บบริเวณคอ บ่า ไหล่

                             ของบุคคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี


                                                                                            นางนันทิชา ทองแสง
                                                   โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8

                                                                                              ประเภท วิชาการ

                  บทคัดย่อ
                         การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Analytic cross-sectional study)

                  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออาการบาดเจ็บบริเวณคอ บ่า ไหล่ ของบุคคลากรโรงพยาบาลสมเด็จ
                  พระยุพราชบ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ในช่วงเดือน ธันวามคม 2566 จำนวน 250 คน เครื่องมือ
                  วิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลแบบ Online Survey โดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังตัวแทนในแต่
                  ละภาคเพื่อดำเนินการส่งต่อโดยใช้ Application Line ไปยังหัวหน้างาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ปัจจัยเสี่ยงต่อ

                  อาการบาดเจ็บบริเวณคอ บ่า ไหล่ และกรณีที่ค่า OR มีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่าเป็นปัจจัยนั้นเป็นปัจจัยที่มีผลต่อ
                  อาการบาดเจ็บบริเวณคอ บ่า ไหล่ ผลวิจัยพบว่า เพศ, อายุ, การมีโรคประจำตัว, มีการเอียงหรือหมุนตัวผิด
                  ท่าทาง (W3), พื้นที่การทำงานไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน (W.13) ผลต่ออาการบาดเจ็บบริเวณ คอ บ่า ไหล่

                  องบุคคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
                  ที่มาและความสำคัญ

                         อาการปวดคอ (Cervical pain) ในกลุ่มวัยทำงานเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในการรักษาทาง
                  กายภาพบำบัด เป็นอาการผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (Work-Related
                  Musculoskeletal Disorders; WMSDs) คืออาการผิดปกติต่างๆ เช่น อาการปวด อาการล้า และอาการขัด

                  เป็นต้น จะเกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเฉพาะที่ หรือบางครั้งอาจมีอาการปวดและร้าว
                  ไปยังบริเวณอื่นๆ ใกล้เคียงได้โดยอาการจะสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวและท่าทาง ดังนั้นทางกลุ่มวิจัยจึงมีความ
                  สนใจที่จะทำการศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณคอ บ่า ไหล่ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ
                  เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง

                  วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

                         เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออาการบาดเจ็บบริเวณคอ บ่า ไหล่ ของบุคคลากรโรงพยาบาลสมเด็จ
                  พระยุพราชบ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

                  วิธีดำเนินงานวิจัย
                         1. การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Analytic cross-sectional study)
                         2. กลุ่มตัวอย่างจำนวน 250 คน จากนั้นจึงสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลาก

                         3. เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ
                                ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เป็นแบบสอบถามถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับ เพศ อายุ
                  สถานะภาพ น้ำหนัก ส่วนสูง การตั้งครรภ์ การศึกษา รวม 7 ข้อ
                                ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านสุขภาพ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ โรคประจำตัว การพักผ่อน การออก

                  กำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา รวม 5 ข้อ
                                ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านงานที่ทำ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ แผนก/หน่วยงาน ตำแหน่งงาน
                  ระยะเวลาทำงาน การทำงานล่วงเวลา อาชีพเสริม รายได้เฉลี่ย งานบ้าน ลักษณะงานที่ทำ ถนัดมือ ใช้มือข้างไหน
   431   432   433   434   435   436   437   438   439   440   441