Page 527 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 527

M12


                            4.5 คะแนนความพึงพอใจจากบุคคลสำคัญในครอบครับผู้บริจาคเพิ่มขึ้น พ.ศ.2565 - 2567=100%,
                  93.75%, 100% (ภาพรวมเฉลี่ย= 97.90%)

                  5. อภิปรายผล
                        จะเห็นได้ว่า Key success ของแนวทางการพัฒนาเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบบริการ
                  สุขภาพด้านการปลูกถ่ายอวัยวะโดยจัดหาอวัยวะให้เพียงพอประกอบไปด้วยปัจจัยหลายๆ ปัจจัย ดังนี้

                         5.1 การกําหนดนโยบายที่ชัดเจนในการเพิ่มจำนวนผู้บริจาคอวัยวะ พร้อมทั้งทำแผนปฏิบัติการที่รองรับ
                  นโยบายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
                         5.2 การมอบหมายผู้รับผิดชอบงานให้ชัดเจนโดยเฉพาะผู้รับผิดชอบหลัก เช่น หัวหน้าศูนย์รับบริจาค

                  อวัยวะของโรงพยาบาล ประสาทศัลยแพทย์หรือแพทย์เจ้าของผู้ดูแลผู้ป่วย และพยาบาลประสานงานการรับ
                  บริจาคอวัยวะ
                          5.3 การมีการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย
                          5.4 การพัฒนาระบบปฏิบัติการและองค์ความรู้แก่บุคลากร ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

                  6. สรุปและข้อเสนอแนะ

                          สำหรับโรงพยาบาลที่มีบริบทแตกต่างจากโรงพยาบาลหัวหิน ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน อาจทดลองโดย

                  การนําแนวทางการพัฒนานี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลตนเอง หรือนำรูปแบบระบบงาน
                  การบริจาคอวัยวะในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตายที่พัฒนาที่ Setting ที่โรงพยาบาลหัวหิน ไปทำการศึกษาที่
                  Setting ที่ผู้สนใจเป็นผู้รับผิดชอบโดยการนำรูปแบบดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research &
                  Development) เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและเพิ่มศักยภาพในกระบวนการบริจาคอวัยวะ เพิ่มจำนวนอวัยวะ

                  ที่มีคุณภาพในการปลูกถ่ายตอบสนองต่อนโยบายการพัฒนาระบบบริการตามแผนพัฒนาบริการสุขภาพ
                  สาขาการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะให้บรรลุเป้าหมายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
   522   523   524   525   526   527   528   529   530   531   532