Page 525 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 525
M10
การพัฒนารูปแบบระบบงานการบริจาคอวัยวะในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย
โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Development of a system for organ donation in patients with brain death
Hua Hin Hospital Prachuap Khiri Khan Province
1
จินตนา วิชญเศรณี , ฐิฉัฐญา นพคุณ 2
พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขตสุขภาพที่ 5
พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท วิชาการ
1. ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การปลูกถ่ายอวัยวะทดแทน (Organ Transplantation) ให้กับผู้ป่วยที่อวัยวะสําคัญเสื่อมสภาพ ช่วยคืน
ชีวิตใหม่ให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวได้อย่างมีคุณภาพชีวิตให้ใกล้เคียงกับคนปกติ แต่อุปสรรคที่สําคัญของการปลูกถ่าย
อวัยวะ คือการขาดแคลนอวัยวะที่จะนํามาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย (สภากาชาดไทย, 2566)
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลชุมชนที่มี
ความพร้อมรับบริจาคอวัยวะและดวงตาผู้เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย ตามแผนพัฒนาระบบบริการสาขาที่ 13
มีเป้าหมาย “เพิ่มปลูกถ่าย ลดการตาย ได้คิวเร็ว” โดยเน้นการรับบริจาคอวัยวะและดวงตา พัฒนาทีม
นำอวัยวะออก (Regional Harvesting Team) และพัฒนาให้มีศูนย์ปลูกถ่ายไต (Kidney Transplant Center)
เขตสุขภาพละอย่างน้อย 1 แห่ง เพื่อสามารถดำเนินการได้ภายในเขตสุขภาพ (กระทรวงสาธารณสุข, 2561)
โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นโรงพยาบาลระดับ P ซึ่งได้เริ่มดำเนินการรับบริจาค
อวัยวะจากผู้ป่วยสมองตายให้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย โดยมีการเริ่มการดำเนินงานการรับ
บริจาคดวงตา เมื่อปี 2562 โดยมีอัตราส่วนของผู้บริจาคอวัยวะต่อจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาลมีเพียง
แค่จำนวนร้อยละ 0.05 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์การตรวจราชการของโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 5 ที่ตั้งเกณฑ์ไว้
ร้อยละ 0.26
ดังนั้นทางทีมพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะจึงได้ดำเนินการพัฒนา
รูปแบบระบบงานการบริจาคอวัยวะในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย ขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในกระบวนการ
บริจาคอวัยวะ เพิ่มจำนวนอวัยวะ ที่มีคุณภาพในการปลูกถ่ายตอบสนองต่อนโยบายการพัฒนาระบบบริการ
สุขภาพ สาขาการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ ให้บรรลุเป้าหมายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์การศึกษา
2.1 เพื่อพัฒนารูปแบบระบบงานการบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย โรงพยาบาลหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2.2 เพื่อศึกษาผลลัพธ์จากการพัฒนารูปแบบระบบการบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย
โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
3. วิธีการศึกษา
การพัฒนารูปแบบระบบงานการบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย โรงพยาบาลหัวหินในรูปแบบ
แซ่บดีดี (SAP DD MODEL) โดยใช้ทฤษฎีระบบ (System theory) เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนา
มีกระบวนการดำเนินงานดังนี้