Page 522 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 522
M7
การพัฒนาขั้นตอนการรับบริจาคดวงตา ในโรงพยาบาลราชวิถี
พว.มัลลิกา สิทธิสาร พว.สกาวรัตน์ สุรัตนากรเกษม
พว.ยศสนันท์ สิทธิภู่ประเสริฐ พว.กมลทิพย์ ศิริธาดาเจริญ
ศูนย์ประสานงานการรับบริจาค และปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลราชวิถี เขตสุขภาพที่ 13
ประเภท วิชาการ
1. ความสำคัญของปัญหา
การปลูกถ่ายกระจกตา คือการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายกระจกตาของผู้ป่วยที่ขุ่นหรือเป็นโรคออก แล้วปลูก
ถ่ายด้วยกระจกตาของผู้บริจาค ซึ่งสามารถแก้ไขความพิการด้านการมองเห็นและยังเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้
ดีขึ้นได้ จากสถิติศูนย์รับบริจาคดวงตาสภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ 2565 พบว่ามีผู้รอรับการ
ผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาจำนวน 17,702 ดวง ได้รับการปลูกถ่ายกระจกตาแล้ว 811 ดวง จากข้อมูลนี้จะเห็นว่า
จำนวนผู้รอคอยดวงตาที่บริจาคยังคงมีจำนวนมาก ปัญหาการรับบริจาคดวงตา เช่น ญาติไม่ยินยอมบริจาค
ดวงตา แพทย์และพยาบาลไม่กล้าที่จะขอรับบริจาคเนื่องจากไม่ทราบข้อมูลหรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจน
ขาดทักษะในการเจรจาเพื่อขอรับบริจาค หรือขาดการดูแลดวงตาอย่างเหมาะสม ทำให้สูญเสียดวงตานั้นไปไม่
สามารถจัดเก็บเพื่อนำไปปลูกถ่ายได้
จากสถิติผู้ป่วยเสียชีวิตของโรงพยาบาลราชวิถี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564, 2565, 2566 มีผู้เสียชีวิต
1,397 ราย ,1380 ราย ,1,460 ราย แต่มีสถิติจัดเก็บดวงตาสำเร็จ เพียง 0 ดวง ,6 ดวง ,24 ดวง ตามลำดับ ซึ่ง
พบว่าการรับบริจาคดวงตาภายในโรงพยาบาลราชวิถี ยังไม่มีรูปแบบการรับบริจาคดวงตาที่ชัดเจน ส่งผลให้เกิด
การบริจาคดวงตาที่น้อยเมื่อเทียบกับสัดส่วนของผู้เสียชีวิตในโรงพยาบาล
ศูนย์ประสานงานการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ จึงได้มีการประชุมผู้เกี่ยวข้องและค้นหาแนวทาง
การพัฒนาขั้นตอนการรับบริจาคดวงตาในโรงพยาบาลราชวิถีขึ้น
2. วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อพัฒนาขั้นตอนการรับบริจาคดวงตาภายในโรงพยาบาลราชวิถี
3. วิธีการศึกษา
ศึกษาและวิเคราะห์
1. จัดประชุมปรึกษากับทีมงานการพัฒนาขั้นตอนการรับบริจาคดวงตา ประกอบด้วย จักษุแพทย์
,พยาบาลผู้ประสานงาน ,พยาบาลหอผู้ป่วย วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่พบ ดังนี้
แพทย์ TC nurse - ขั้นตอนมีความยุ่งยากไม่ชัดเจน
- พบผู้บริจาคใน รพ.มีน้อย - ไม่มีผู้ให้ข้อมูลกับญาติ
- Waiting list ใน รพ.มีจำนวนมากขึ้น - ไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง
- ข้อมูลสถิติที่มีอยู่ไม่เป็นปัจจุบัน
ผู้บริจาคดวงตามีน้อย
ในโรงพยาบาล
- ญาติไม่ทราบข้อมูลเรื่อง -ไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง - แนวทางเดิมไม่ชัดเจน
การบริจาคดวงตา -เมื่อเกิดการบริจาคไม่ทราบ - ผู้รับผิดชอบไม่ชัดเจน
-ความเชื่อส่วนบุคคล ขั้นตอนประสานงาน - ขาดการประชาสัมพันธ์
ญาติผู้ป่วย หอผู้ป่วย Flow การรับบริจาคดวงตาเดิม