Page 528 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 528

M13


                           นวัตกรรมการรับบริจาคดวงตา:การพัฒนาแนวทางเชิงรุกในการรับบริจาค
                                    และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บดวงตาในโรงพยาบาล




                                                                                             นางศุภาวีร์ ดิษแพร
                                                  สถานที่ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า เขตสุขภาพที่ 5
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  1. ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ปัญหาการขาดแคลนดวงตาบริจาคเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคตาที่สูญเสีย

                  การมองเห็นทั่วโลก ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่รอรับการปลูกถ่ายกระจกตาจำนวนมาก แต่มีดวงตาบริจาคไม่เพียงพอ
                  ข้อมูลจากศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย ระบุว่า ในปี 2565 มีผู้ป่วยรอรับการปลูกถ่ายกระจกตามากกว่า
                  5,000 คน แต่มีดวงตาบริจาคเพียง 1,200 ดวง การขาดแคลนดวงตาบริจาคส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในหลายด้าน
                  เช่น สูญเสียการมองเห็น ผู้ป่วยที่รอรับการปลูกถ่ายกระจกตาต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก การมองเห็นที่
                  เลือนรางหรือสูญเสียไป ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน การศึกษา และความสัมพันธ์ทางสังคม

                  สูญเสียโอกาสในการทำงาน การศึกษา และการมีส่วนร่วมในสังคม
                         การพัฒนานวัตกรรมการรับบริจาคดวงตาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนดวงตาบริจาค
                  นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นควรมีเป้าหมายเพื่อ พัฒนาวิธีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ประชาชนตระหนัก

                  ถึงความสำคัญของการบริจาคดวงตา พัฒนาระบบการจัดเก็บดวงตาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถเก็บรักษา
                  ดวงตาได้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพรวมถึงการลดระยะเวลารอคอยการปลูกถ่ายกระจกตา การพัฒนา
                  นวัตกรรมการรับบริจาคดวงตาจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนดวงตาบริจาค ช่วยให้ผู้ป่วยที่รอรับการปลูกถ่าย
                  กระจกตาได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านี้สามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                  2. วัตถุประสงค์การศึกษา

                      1.  พัฒนานวัตกรรมการรับบริจาคดวงตาเพื่อเพิ่มจำนวนผู้บริจาคดวงตา
                      2.  เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บดวงตาในโรงพยาบาล

                  3. วิธีการศึกษา
                      1.  กำหนดขอบเขตการศึกษาเน้นการคัดกรองผู้ป่วย Cardiac dead ในทุกๆหอผู้ป่วยในและห้องอุบัติเหตุ
                         และฉุกเฉิน

                     2.  จัดตั้งทีม TCWN (Transplant coordinating ward nurse) เพื่อทำหน้าที่เจรจาและคัดกรองในทุกๆ
                         หอผู้ป่วยของโรงพยาบาล โดยมีการวางแผนบุคลากรในการส่งฝึกอบรมที่เขตสุขภาพได้จัดการอบรม
                         เชิงปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทุกๆปี
                     3.  ชี้แจงแนวทางการคัดกรองและเกณฑ์การคัดกรองในหอผู้ป่วยทุกๆหอในโรงพยาบาล

                     4.  กำกับติดตามผลโดยใช้ Eye Donor Dashboard นำเสนอในคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล
                         อย่างต่อเนื่องทุกๆเดือน
                     5.  ดำเนินกิจกรรมย่อย ควบคู่กันคือโครงการ “ข้าวสาร transplant” โดยมีการมอบข้าวสารให้กับ

                         ผู้เจรจารับบริจาคดวงตาในโรงพยาบาลเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ในการดำเนินงาน
                     6.  มีการสรุปผลและระบุปัญหาอุปสรรคและประชุมเพื่อหาแนวทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
   523   524   525   526   527   528   529   530   531   532   533