Page 529 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 529
M14
4. อภิปรายผล
จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริจาคดวงตาพบว่าในปีงบประมาน 2566 มีผู้ที่อาจบริจาคดวงตา
(Potential eye donor) = 19 ราย ได้รับการเจรจา ทั้ง 19 ราย (คิดเป็น 100%) ยินยอมบริจาค 7 ราย และ
ได้ผู้บริจาคดวงตาจริง (Actual eye donor) ทั้งสิ้น 6 ราย ผู้บริจาคดวงตาไม่เหมาะสม 1 ราย เนื่องจากมีแผล
ที่กระจกตา และข้อมูลในปีงบประมาน 2567 (เดือน ต.ค 2566 - มี.ค.2567) ผู้ที่อาจบริจาคดวงตา (Potential
eye donor) = 24 ราย ได้รับการเจรจา 17 ราย (คิดเป็น 70.83%) ยินยอมบริจาค 6 ราย และได้ผู้บริจาค
ดวงตาจริง (Actual eye donor) ทั้งสิ้น 5 ราย ผู้บริจาคดวงตาไม่เหมาะสม 1 ราย เนื่องจากมีผลเลือดผิดปกติ
โดยโรงพยาบาลสามารถดำเนินการจัดเก็บดวงตาเองโดยประสาทศัลยแพทย์ผู้ทำหน้าที่เป็น TC Doctor และ
พยาบาลที่ทำหน้าที่จัดเก็บดวงตารวมทั้งสิ้น 9 รายจาก 11 ราย (คิดเป็น 81.81%)
ในปีงบประมาณ 2566 มีการเจรจากับผู้ที่อาจบริจาคดวงตาทั้งหมด 19 ราย (คิดเป็น 100%)
ซึ่งถือเป็นผลลัพธ์ที่ดีในแง่การสื่อสารโครงการสู่การปฏิบัติแม้ว่าประสิทธิภาพในการเจรจาสำเร็จคิดเป็น
36.84% (7 จาก 19 ราย ) ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย เช่น ทัศนคติในการบริจาคอวัยวะของญาติที่กลัว
อวัยวะไม่ครบในชาติหน้า ยังทำใจไม่ได้กับการสูญเสีย แต่เมื่อเทียบกับยอดผู้บริจาคดวงตาจริงในปีงบประมาน
ก่อนๆ ถือได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญซึ่งอาจสื่อถึงการที่มีกระบวนการคัดกรองผู้บริจาคที่มีคุณภาพและ
มีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่องและในปีงบประมาน 2567 ผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนก็พบว่า
มีผู้บริจาคดวงตาถึง 5 ราย และอัตราการเจรจารับบริจาคสำเร็จอยู่ที่ 35.29% (6 จาก17 ราย ) เมื่อเทียบกับ
ปี 2566 อาจสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายใหม่ๆ ในการเข้าถึงการรับบริจาค อีกทั้งการคัดกรองที่เข้มข้น
ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ได้ผู้บริจาคที่เหมาะสม โดยภาพรวมแล้ว ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความต้องการใน
การพัฒนาระบบการรับบริจาคดวงตาในโรงพยาบาล เพื่อให้สัดส่วนของผู้ที่ยินยอมและสามารถบริจาคได้จริง
เพิ่มขึ้น เช่นการให้ข้อมูลที่ชัดเจน, การสื่อสารที่ได้ผล, และการสนับสนุนทั้งทางด้านจิตใจและข้อมูลให้กับผู้
บริจาคและครอบครัวรวมถึงการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนการดำเนินการจัดเก็บดวงตาภายในโรงพยาบาลเองพบว่า บางครั้งในหลายๆโรงพยาบาล
มักประสบปัญหาเรื่องการจัดเก็บดวงตาเนื่องจากมีกรอบเวลาในการดำเนินการที่ 6 ชั่วโมง บางครั้งไม่สามารถ
รอผู้จัดเก็บดวงตาจากส่วนกลางเดินทางมาได้ทันเวลาทำเกิดการสูญเสียอวัยวะ ซึ่งการพัฒนาศักยภาพบุคลากร
ในการจัดเก็บดวงตาได้หลายๆคนโรงพยาบาลเพื่อเพิ่มโอกาสในการจัดเก็บได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนดวงตาในการปลูกถ่ายกระจกตาในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม
5. สรุปและข้อเสนอแนะ
การบริจาคดวงตาในประเทศไทยรวมถึงในจังหวัดสมุทรสงครามมีแนวโน้มที่ดี แต่ยังมีโอกาสในการ
พัฒนา การนำข้อเสนอแนะไปปฏิบัติจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้บริจาคดวงตาจริง และช่วยให้ผู้ป่วยที่รอคอยการปลูกถ่าย
กระจกตามีโอกาสกลับมามองเห็นอีกครั้งโดยข้อเสนอแนะ ประกอบไปด้วย
1. ควรมีการพัฒนาระบบการคัดกรองผู้บริจาคดวงตาเพื่อให้สามารถระบุผู้ที่ไม่เหมาะสมในช่วงแรก
ของกระบวนการ เช่น การมีแผลที่กระจกตาหรือผลเลือดผิดปกติ เพื่อลดเวลาและทรัพยากรที่ใช้ใน
การเจรจากับผู้ที่ไม่สามารถบริจาคได้จริง
2. เพิ่มการฝึกอบรมและส่งเสริมความรู้ให้กับทีมงานที่ดำเนินการเจรจา เพื่อให้สามารถแสดงความชัดเจน
และสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมการรับรู้และการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาคดวงตาให้กับประชาชนทั่วไป เพื่อเพิ่มจำนวน
ผู้ยินยอมบริจาคและผู้บริจาคดวงตาจริง
4. ติดตามและประเมินผลกระทบของนวัตกรรมการรับบริจาคดวงตาอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาโอกาสในการ
ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพ