Page 533 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 533

M18



                      บทบาทของพยาบาลผู้จัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย

                        เพื่อการบริจาคอวัยวะและปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
                  Effect of Nurse case management program in Caring brain death donor for Organ

                         donation and Transplantation in Maharajnakhonsithammarat hospital



                                                   พว.สุปาณี หิรัญรัตน์ และพว.เจียมจิตร เจริญขุน,พว.สมจิตร์ ยอดระบำ
                                                หอผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรม1 รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช เขตสุขภาพที่ 11

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  1. ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ณ ปัจจุบันทางรอดเดียวของผู้ป่วยอวัยวะล้มเหลวระยะสุดท้าย คือการรักษาด้วยการปลูกถ่ายอวัยวะ
                  ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิต และกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงปกติมากที่สุด โดยข้อมูลจากการลงทะเบียน

                  ผู้ป่วยที่มีการปลูกถ่ายไตของสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2560 พบว่าอัตรารอดชีวิต
                  ของผู้ได้รับไตจากผู้บริจาคสมองตาย สามารถอยู่ได้นาน 10 ปี มีจำนวน 78.2% แต่อุปสรรคสำคัญคือการขาด
                  แคลนอวัยวะ จากข้อมูลศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ณ วันที่ 31 มกราคม 2567 มีจำนวนผู้รอ

                  อวัยวะ 6,667 คน  มีผู้บริจาคแล้ว 31 คน ผู้ได้รับปลูกถ่ายแล้ว 77 คน และในโรงพยาบาลมหาราช
                  นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี 2560-2566 มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สมองตายเฉลี่ยปีละ 20 คน มีจำนวนผู้บริจาคอวัยวะ
                  0-1 ราย/ปี ปัญหาหลักที่พบคือ การแจ้งผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สมองตาย, การเจรจาขอรับบริจาคอวัยวะ,
                  การวินิจฉัยภาวะสมองตาย, การดูแลผู้ป่วยสมองตายให้มีอวัยวะที่มีประสิทธิภาพ ยังไม่มีผู้รับผิดชอบหลัก

                  และดำเนินการได้น้อยกว่าความเป็นจริง จึงทำให้ผู้ศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการการบริจาค
                  อวัยวะจากผู้บริจาคภาวะสมองตายซึ่งมีความยุ่งยาก ซับซ้อน และมีความจำกัดด้วยเวลา อันประกอบด้วย
                  3 ระยะใหญ่ๆ ได้แก่ 1) ระยะก่อนการวินิจฉัยสมองตาย 2) ระยะดำเนินการวินิจฉัยสมองตาย 3) ระยะหลัง
                  วินิจฉัยสมองตาย ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้สนใจศึกษาบทบาทพยาบาลผู้จัดการรายกรณีต่อกระบวนการบริจาค

                  อวัยวะในผู้ป่วยสมองตายในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้บริจาค
                  อวัยวะจากสมองตายระยะยาวต่อไป

                  2. วัตถุประสงค์การศึกษา
                          2.1 เพื่อศึกษาบทบาทพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีต่อกระบวนการการดูแลผู้ป่วยสมองตาย

                  ที่เป็นผู้บริจาคอวัยวะ
                              2.2 เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีต่อกระบวนการบริจาคอวัยวะ
                  ในผู้ป่วยสมองตาย โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

                  3. วิธีการศึกษา
                           โดยใช้วิธี PDCA ผู้ศึกษาได้นำกรอบแนวคิดการจัดการรายกรณี case management ของโพเวล

                  และทาเฮน และมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยสมองตายของ WHO Guideline Principles on Human cell
                  Tissue and Organ transplantation ดังนี้ 1) การค้นหาและคัดเลือกผู้ป่วย 2) การประเมินและวิเคราะห์
                  ปัญหาที่เกิดขึ้น 3) การวางแผนดูแลและประสานงาน 4) การดำเนินการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ 5) การประเมิน
                  และติดตามผล ซึ่งประกอบด้วย พยาบาลผู้จัดการรายกรณี การประสานความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพ
   528   529   530   531   532   533   534   535   536   537   538