Page 645 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 645
P22
การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
จากการคาสายสวนปัสสาวะ (CAUTI Bundle Care)
นันทิภัคค์ พีรวัสธนะวุฒิ
โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะ (Catheter associated urinary
tract infection; CAUTI) จากข้อมูลการติดเชื้อของสหรัฐอเมริกา พบว่าเป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่มีอัตรา
การเกิดสูงเป็นอันดับ 3 (NHSN, 2020) ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยนอน
โรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายในการรักษา อาจนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตได้ (เกล็ดดาว
จันทฑีโร และคณะ, 2562; NHSN, 2020) จากการเก็บข้อมูลในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลกระทุ่ม
แบน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2565 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2566 พบอัตราการเกิด CAUTI มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ดังนี้
2.70, 0, 2.80, 5.56, 6.85 ครั้งต่อ 1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ ตามลำดับ (คณะกรรมการการป้องกันและ
ควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน, 2565) และมีจำนวนผู้ป่วยใส่คาสายสวนปัสสาวะมากถึงร้อยละ 80
เนื่องจากมีความจำเป็นในการประเมินระยะวิกฤตของชีวิต เฝ้าระวังภาวะช็อก ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิด
CAUTI ในหน่วยงานมีแนวทางการดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ Maintain urinary catheters based on
recommended guidelines แต่ยังพบว่ามีอัตราการเกิด CAUTI ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
จากการทบทวนวรรณกรรมพบหลายปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับ
การคาสายสวนปัสสาวะ ได้แก่ ปัจจัยภายในของผู้ป่วย และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เทคนิคการใส่สายสวน
คาปัสสาวะ เทคนิคการดูแลสายคาสวนปัสสาวะของบุคคลากรไม่ถูกต้อง หรือปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น
(จุฬาพร ขำดี และคณะ, 2561; Henry, 2018) หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา
ดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวน
ปัสสาวะ อย่างเป็นระบบมีแบบแผนตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และสอดคล้องกับบริบทของหน่วยงาน นำไปสู่
การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุม ชัดเจน และสะดวกต่อการนำไปปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอ สามารถให้
การดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะได้ถูกต้องตาม
มารตฐาน เป็นการพัฒนาคุณภาพบริการในการดูแลผู้ป่วย
วัตถุประสงค์การศึกษา
1) เพื่อให้บุคลากรทีมสุขภาพในหน่วยงานมีแนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการคาสาย
สวนปัสสาวะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะ
2) เพื่อลดอัตราการเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ (CAUT)
อัตราการเกิด CAUTI ≤ 1.5 ครั้งต่อ 1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ