Page 647 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 647
P24
ผลการศึกษา
1) แบบประเมิน CAUTI Prevention Checklist : NO-CAUTI ติดตามการปฏิบัติตามแนวทางการ
พยาบาล พบพยาบาลปฏิบัติและบันทึกในแบบประเมินร้อยละ 100
2) พยาบาลผู้ใช้แนวทางปฏิบัติ NO-CAUTI ศึกษาผ่านโปสเตอร์ และคู่มือ QR cord มีความพึงพอใจ
ในระดับมาก ร้อยละ 80 มีความสะดวก น่าสนใจ และเนื้อหาครอบคลุมเข้าใจง่าย
3) อัตราการเกิด CAUTI ลดลง ดังแสดงในแผนภูมิที่ 1
15 14 อัตราการเกิด CAUTI ครั้งต่อ 1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ
10 8.06 6.85
5.15 5.38 4.08 5.56
5 3.05 3.36 2.7 2.8
0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
0
ม.ค.-65 ก.พ.-65 มี.ค.-65 เม.ย.-65 พ.ค.-65 มิ.ย.-65 ก.ค.-65 ส.ค.-65 ก.ย.-65 ต.ค.-65 พ.ย.-65 ธ.ค.-65 ม.ค.-66 ก.พ.-66 มี.ค.-66 เม.ย.-66 พ.ค.-66 มิ.ย.-66 ก.ค.-66 ส.ค.-66 ก.ย.-66 ต.ค.-66 พ.ย.-66 ธ.ค.-66 ม.ค.-67
ข้อมมูลหลังพัฒนาแนวทาง No-CAUTI
ข้อมูลก่อนพัฒนาแนวทาง NO-CAUTI
แผนภูมิที่ 1 แสดงอัตราการเกิด CAUTI (ครั้งต่อ 1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ) ตั้งแต่เดือน มกราคม 2565 ถึง มกราคม 2567
อภิปรายผล
อัตราการเกิด CAUTI น้อยกว่า 1.5 ครั้งต่อ 1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ และจำนวนครั้งของการ
เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยใส่สายสวนคาปัสสาวะ ลดลงร้อยละ 70 ภายในระยะเวลา 6
เดือน ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์
สรุปและข้อเสนอแนะ
1) เกิดกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน ร่วมกันพัฒนาแก้ไขปัญหาโดยการสืบค้น
ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ปฏิบัติการพยาบาลป้องกันการติดเชื้อในระบบ
ทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ NO-CAUTI ที่ง่ายต่อการนำไปใช้ในหน่วยงาน
2) การปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติจากสิ่งที่บุคลากรปฏิบัติเป็นประจำมาสู่การปฏิบัติฉบับปรับปรุงตาม
หลักฐานเชิงประจักษ์ อาจเกิดความไม่คุ้นเคยต้องใช้เวลา และความร่วมมือจากบุคลากรในหน่วยงาน มีการ
ติดตามเฝ้าระวังและสังเกตการณ์จาก ICWN ของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอ
ข้อเสนอแนะ
การนำแนวทางปฏิบัติการพยาบาลป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวน
ปัสสาวะ NO-CAUTI เผยแพร่ไปยังหอผู้ป่วยอื่นๆ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลาย ในด้านเพศ ช่วง
อายุ หรือภาวะความเจ็บป่วย และเป็นข้อมูลในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัยป้องกันการติดเชื้อใน
ระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะต่อไป